วิธีการดูปีที่ผลิตของลูกโบว์ลิ่งเครือ Ebonite International (ประกอบด้วยลูกโบว์ลิ่งยี่ห้อ Ebonite, Columbia 300, Hammer, Track) มาให้ทุกท่านได้รับชมนะครับ
แต่วิธีการดูนี้น้าจบคาดว่าจะสามารถใช้ได้กับลูกโบวลิ่ง 4 ยี่ห้อนี้ในรุ่นที่ออกวางจำหน่ายจนถึงสิ้นปี 2019 เนื่องจากปลายปี 2019 Ebonite และ Brunswick มีการรวมกิจการและในปี 2020 ลูกโบว์ลิ่งเครือ Ebonite ถูกย้ายฐานการผลิตไปผลิตที่โรงงานเดียวกับ Brunswick แล้ว จากข้อมูลที่น้าจบมี การให้หมายเลข Serial ของลูกโบว์ลิ่งเครือ Ebonite รุ่นใหม่ๆ จะใช้ระบบตัวหนังสือแทนเดือนและปีแล้ว ซึ่งสำหรับวิธีการแปลความหมายตรงนี้ น้าจบขอไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนนะครับ และหากมีข้อมูลที่น่าสนใจ น้าจบจะมาแบ่งปันให้พี่น้องอีกนะครับ
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่เพจ ร้านน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565
วิธีดูปีผลิตลูกโบว์ลิ่งยี่ห้อ storm
วิธีดูปีผลิตลูกโบว์ลิ่งครับ
โพสต์นี้เป็นวิธีดูปีผลิตของลูกโบว์ลิ่งยี่ห้อ storm และ Roto grip นะครับ
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
วิธีดูเดือนและปีผลิตลูกโบว์ลิ่ง
วิธีดูเดือนและปีผลิตลูกโบว์ลิ่งครับ โพสต์นี้เป็นวิธีดู เดือนปีผลิตของลูกโบว์ลิ่งยี่ห้อ MOTIV ครับ
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
โบว์ลิ่งน่ารู้ ตอน รู้หรือไม่ว่าลูกโบว์ลิ่งสามารถเจาะได้กี่รู? By น้าจบ
สวัสดีครับพี่น้องชาวโบว์ลิ่งทุกท่าน วันนี้น่าจบโบว์ลิ่งเทคโนโลยีก็มาพร้อมกับสาระน่ารู้เกี่ยวกับโบว์ลิ่งอีกเช่นเคยครับ หลายท่านเคยสงสัยและสอบถามน้าจบมาว่า “ลูกโบว์ลิ่งสามารถเจาะได้กี่รูครับ?”วันนี้น้าจบจะมาแชร์ข้อมูลเพื่อไขข้อสงสัยนี้ให้พี่น้องทุกท่านนะครับ เชิญรับชมเลยครับ
โดยทั่วไป ท่านอาจจะเคยพบเห็นลูกโบว์ลิ่งที่มีสามรู (พบบ่อยที่สุด) หรือบางท่านก็อาจจะพบลูกโบว์ลิ่งที่มีเพียงสองรู ไม่มีรูนิ้วโป้ง หรือบางท่านก็อาจจะเคยเห็นลูกโบว์ลิ่งที่มีถึง 4 รูด้วยกัน แต่ตามกติกาในปัจจุบันแล้ว ลูกโบว์ลิ่งสามารถเจาะได้ถึง 12 รูด้วยกัน (จะสามารถเจาะได้มากที่สุดเพียง 11 รูหลังจากที่กติกาใหม่บังคับใช้ในวันที่ 1 ส.ค. 2020) ส่วนแต่ละรู คือรูอะไร ใช้ทำอะไรบ้าง น้าจบขออธิบายว่ารูบนลูกโบว์ลิ่งแบ่งเป็นกลุ่มตามกติกาการเจาะลูกโบว์ลิ่งได้ตามนี้ครับ
1. รูสำหรับจับถือ (Grip hole) สามารถมีได้ 5 รู สำหรับการใส่นิ้วได้ 5 นิ้วตามรูปประกอบเลยครับ สามารถเจาะได้ตั้งแต่ 1-5 รูตามความถนัดและความสะดวกในการจับถือของแต่ละท่านเลยครับ แต่หากรูสำหรับจับถือรูไหนที่เจาะแล้ว ไม่ได้ใส่นิ้วลงไปจริงในตอนใช้โยน ก็จะถือว่าเป็นรูสำหรับปรับสมดุลน้ำหนักลูกโบว์ลิ่ง หรือ Balance hole ครับ
2. รูระบายอากาศ (Vent Hole) 5 รู โดยเจาะรูระบายอากาศได้ 1รูต่อรูสำหรับจับถือ 1 รู หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่ารูระบายอากาศมีประโยชน์ยังไง หรืออาจจะยังไม่เคยรูระบายอากาศ น้าจบขออธิบายว่าปัจจุบันการโยนโบว์ลิ่งแบบโค้งมักใส่อุปกรณ์เสริมคือแท่งตั๊ม (Thumb slug) สำหรับนิ้วโป้งซึ่งมีบากตรงขอบผิวด้านนอกเพื่อระบายอากาศอยู่แล้ว หรือมีการใส่กริ๊ปอินเสิร์ท (Grip Insert) สำหรับนิ้วกลางนิ้วนาง ซึ่งปกติจะมีความหลวมหรือมีช่องว่างประมาณนึงให้อากาศสามารถไหลออกได้อยู่แล้ว รูระบายอากาศจึงไม่มีความจำเป็นในยุคนี้ แต่สมัยก่อนที่ยังไม่มีกริ๊ปและตั๊ม การเจาะลูกสำหรับโยนโค้งจะต้องเจาะรูแล้วแต่งขนาดให้พอดีกับนิ้วของผู้เล่น ซึ่งความพอดีนั้นทำให้อากาศไม่สามารถไหลได้ เกิดเป็นภาวะสูญญากาศ ทำให้ลูกดูดนิ้วติดกับรู ไม่สามารถปล่อยออกได้ครับ การปล่อยลูกโบว์ลิ่งออกไปในสภาพที่ลูกโบว์ลิ่งที่มีน้ำหนักเยอะติดมือออกไปด้วยอาจะทำให้บาดเจ็บที่นิ้วจากการโดนลูกโบว์ลิ่งกระตุกตอนปล่อยลูก หรืออีกกรณีหนึ่งหากท่านปล่อยลูกด้วยความรุนแรงแล้วไม่สามารถเคลียร์นิ้วให้หลุดได้ ท่านอาจจะบินออกไปพร้อมลูกโบว์ลิ่งเหมือนกับซุปเปอร์แมนเลยครับ แน่นอนครับว่าท่านจะต้องอับอายขายขี้หน้าไปอีกนานและอาจจะบาดเจ็บได้ด้วยเช่นกันครับ ดังนั้นสมัยก่อนจึงมีการกำหนดให้เจาะรูสำหรับระบายอากาศได้โดยขนาดของรูต้องไม่เกิน ¼ นิ้วและจะต้องเจาะบนผิวลูกให้ทะลุออกไปที่ผนังของรูสำหรับจับถือครับ ในการแข่งขันโบว์ลิ่งอาชีพ PBA เคยมีเหตุการณ์โด่งดังในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องนี้ คือไมค์ มาชูก้าปล่อยลูกไม่หลุดแล้วบินไปกับลูกแล้วร่อนลงบนเลนเลยครับ สามารถหาคลิปดูได้ในยูทูป แล้วพิมพ์ว่า Machuga flop ครับ
3. รูสำหรับปรับสมดุลน้ำหนักหรือรูบาลานซ์ (Balance hole) 1 รู เป็นรูที่เจาะเอาไว้สำหรับปรับน้ำหนักต่างไม่ให้เกินเกณฑ์ที่กติกากำหนดครับ ในกติกากำหนดให้เจาะรูบาลานซ์ได้เพียง1 รูเท่านั้นโดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของรูไม่เกิน 1 ¼ นิ้ว รูบาลานซ์นี้ยังหมายรวมถึงรูสำหรับจับถือที่ไม่ได้มีการใส่นิ้วในขณะโยนด้วยครับ
หมายเหตุ: ในวันที่ 1 สิงหาคม 2020 จะมีการประกาศกติกาในการเจาะใหม่ซึ่งจะยกเลิกการเจาะรูบาลานซ์ในทุกกรณี หมายความว่านอกจากจะไม่สามารถเจาะรูบาลานซ์ได้แล้ว ก็ยังไม่สามารถเจาะรูสำหรับจับถือที่ไม่ได้มีการใส่นิ้วสำหรับโยนด้วยเช่นกันครับ เช่นคนที่โยนสองมือหรือมือเดียวแบบไม่ใส่นิ้วโป้ง ก็จะไม่สามารถเจาะรูนิ้วโป้งได้อีกต่อไป เพราะถือว่ารูนิ้วโป้งนั้นคือรูบาลานซ์ครับ
4. รูเจาะเพื่อการตรวจสอบ (Mill hole) 1 รู สมัยก่อนจะมีการเจาะรูเพื่อคว้านเอาเนื้อของลูกโบว์ลิ่งไปตรวจสอบค่าต่างๆของผิวลูกโบว์ลิ่ง เช่นค่าความแข็งของผิวลูกโบว์ลิ่ง โดยกรรมการการแข่งขันจะคว้านเนื้อลูกโบว์ลิ่งออกไปเป็นรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 5/8 นิ้ว และมีความลึกไม่เกิน 1/8 นิ้วครับ แต่ปัจจุบันไม่พบเห็นการเจาะรูประเภทนี้แล้วเนื่องจากการตรวจวัดค่าความแข็ง มีเครื่องมีในการตรวจวัดที่ทันสมัยขึ้นแล้ว สามารถใช้ตรวจวัดค่าความแข็งของผิวลูกโบว์ลิ่งได้โดยไม่ต้องคว้านเนื้อออก เรียกว่าดิวโรมีเตอร์ (Durometer) ครับ
ทีนี้ท่านที่มีความสนใจที่จะเจาะรูมากกว่าปกติที่พบเห็นกันบ่อย ก็สามารถเจาะได้แล้วครับหากยังอยู่ในกติกา เช่นการเจาะฟิงเกอร์สามนิ้วไว้สำหรับใส่นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยครับ หรือหากยังถือไม่ถนัดพอ ท่านสามารถเจาะรูไว้สำหรับใส่นิ้วชี้เพิ่มอีกหนึ่งรูได้ด้วยครับ 5555 หากท่านสนใจงานเจาะที่เฉพาะทาง
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
โบว์ลิ่งน่ารู้ By น้าจบ ตอน คุณโยนโบว์ลิ่งสไตล์ไหน ลองมาดูกันครับ
สวัสดีครับพี่น้องชาวโบว์ลิ่งทุกท่าน วันนี้น้าจบโบว์ลิ่งเทคโนโลยีก็มีสาระมาแบ่งปันให้พี่ๆน้องๆทุกท่านอีกครั้งนะครับ วันนี้น้าจบจะมาแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องลักษณะในการโยนโบว์ลิ่งแนวต่างๆที่มีให้กับทุกท่านครับ เรื่องนี้เองก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องที่เราจะใช้ในการว่างแผนการโยน รวมถึงทั้งการเลือกลูกโบว์ลิ่งและเจาะลูกโบว์ลิ่งเลยครับ มาลองดูกันนะครับพี่น้อง
ถ้าว่ากันจริงๆแล้วแนวการโยนโบว์ลิ่งมีอยู่ประมาณ 13 แบบครับ แต่ในวันนี้น้าจบจะขอยกมาเป็นกลุ่มใหญ่ๆที่ใช้พูดคุยกันทั่วๆไปมาเล่าให้ฟังนะครับ แนวการโยนโบว์ลิ่งหลักๆแบ่งเป็นประมาณนี้นะครับ
1. โยนตรง - Straight Ball (ไม่มีรูปประกอบ) เป็นแนวการโยนโบว์ลิ่งที่พื้นฐานที่สุดในทุกแนวครับ เนื่องจากไม่มีเทคนิคที่ซับซ้อนที่ต้องใช้ในการโยนแนวนี้ การโยนตรงเน้นเรื่องความแม่นยำเป็นหลักครับ การโยนตรงไม่มีรูปแบบหรือฟอร์มที่ตายตัว จุดหลักคือการโยนกลิ้งให้ลูกโบว์ลิ่งกลิ้งตรงออกไปจนกระทั่งชนพินครับ ข้อดีของการโยนตรงคือการฝึกฝนไม่ยากครับ ขอเพียงท่านสามารถคุมการโยนให้ลูกโบว์ลิ่งวิ่งไปตามไลน์ที่ท่านต้องการโยนเท่านั้น และท่านที่มีความแม่นยำในการโยนลูกตรงจะสามารถรักษาคะแนนเฉลี่ยได้ดีจากการเก็บสแปร์ได้อย่างต่อเนื่อง แต่การโยนตรงก็มีข้อเสียในเรื่องการการมีโอกาสผิดพลาดได้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากเหลี่ยมการเข้าพินที่หวังผลสไตรค์ได้มีน้อยกว่าการโยนเคิฟครับ การโยนตรงแม่นแม้ทำให้รักษาคะแนนเฉลี่ยเกาะกลุ่มได้ค่อนข้างดี แต่ก็โยนทำคะแนนสูงหรือไฮเกมได้ค่อนข้างยากเช่นกันครับ ในอดีตการโยนตรงยังถูกใช้ในการแข่งขันโดยนักกีฬาด้วย โดยนักกีฬาผู้มีความสามารถในการโยนตรงในระดับตำนานได้แก่ดอน คาร์เตอร์ (Don Carter) หนึ่งในตำนานตลอดการของประวัติศาสตร์ PBA ครับ
2. โยนโค้ง - Curve Ball เป็นแนวการโยนที่นิยมแพร่หลายที่สุดในหมู่นักกีฬาและผู้เล่นที่เริ่มจริงจังในการโยนโยว์ลิ่ง เนื่องจากการโยนโค้งทำให้มีมุมการเข้าปะทะพินที่กว้างกว่าการโยนตรง ทำให้โอกาสหวังผลในการทำสไตรค์มากกว่าการโยนตรงครับ และการโยนให้ลูกโบว์ลิ่งเลี้ยวโค้งเข้าหาพิน บางครั้งก็สามารถมองเป็นความสวยงามอย่างหนึ่งของการโยนโบว์ลิ่งได้เช่นกันครับ แต่การโยนโค้งก็ต้องการการฝึกฝนที่มากกว่าการโยนตรงด้วยเช่นกัน โดยแนวการโยนโค้งมีค่อนข้างหลากหลายมากๆ สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ตามนี้ครับ
- ฟูลโรลเลอร์ (Full Roller) เป็นวิธีการโยนโค้งที่มีมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของโบว์ลิ่งเลยครับ โดยหลักแล้วการโยนฟูลโรลเลอร์จะทำให้เส้นน้ำมันวิ่งพาดผ่านตรงกลางระหว่างรูนิ้วโป้งกับฟิงเกอร์ (รูนิ้วกลางและนิ้วนาง) ครับ ถ้าเป็นการโยนฟูลโรลเลอร์ในกรณีทั่วๆไป ผู้โยนมักมีการคว่ำมือในระหว่างสวิงไปด้านหลังตามรูป และในจังหวะสวิงลงลูกโบว์ลิ่งจะถูกปล่อยข้างลำตัวในลักษณะมือก้ามปู โดยนิ้วกลางและนิ้วนางจะนำนิ้วโป้งครับ สาเหตุของการโยนแบบนี้ คาดว่าในยุคแรกๆตั้งแต่ 1800s ปลายๆจนถึง 1920 ลูกโบว์ลิ่งนิยมเจาะรูเพียงสองรู คือรูนิ้วโป้ง และรูนิ้วกลาง การใส่นิ้วแค่นิ้วโป้งและนิ้วกลางทำให้แนวการรับน้ำหนักเป็นเพียงเส้นตรงระหว่างสองนิ้วเท่านั้นทำให้เวลาสวิงลง ลูกโบว์ลิ่งจะถ่วงให้มือพลิกคว่ำได้ และพอสุดวงสวิงด้านหลัง ลูกจะถ่วงมือให้เหวี่ยงกลับไปด้านหน้า และในจังหวะนั้นน้ำหนักของลูกจะถ่วงมือในตำแหน่งคว่ำให้กลับมาเป็นการปล่อยบอลในลักษณะมือก้ามปูครับ ข้อดีของการโยนฟูลโรลเลอร์คือลูกโบว์ลิ่งวิ่งได้แบบเต็มวงหรือเส้นน้ำมันผ่าครึ่งลูกพอดี ทำให้ได้การวิ่งที่วงใหญ่เหมือนกับใช้รถยางขนาดใหญ่ แม้จะไม่ได้โยนรอบเยอะมาก ลูกยังสามารถเลี้ยวได้อยู่ แต่ข้อเสียก็คือด้วยรอบที่ไม่เยอะมากทำให้ไลน์ในการโยนค่อนข้างจำกัดครับ ในรูปที่นำมาแสดงประกอบคือแอนดี้ วาริปาป้า (Andy Varipapa) นักกีฬาโบว์ลิ่งชื่อดังตั้งแต่ยุค 1930 ครับ
- สโตรคเกอร์ (Stroker) เป็นแนวการโยนโค้งอีกแนวที่ค่อนข้างคลาสสิคโดยเริ่มพบการโยนแบบนี้ตั้งแต่ช่วง 1950 ผู้ที่โยนแนวนี้มีลักษณะการโยนที่เน้นการปล่อยลูกโบว์ลิ่งจากด้านข้างบอลตามรูป โดยใช้การให้ข้อมือเอียงทำมุมและยกมือขึ้นในมุมนั้นเพื่อเกี่ยวลูกในจังหวะปล่อยบอล วิธีการปล่อยแบบมือเอียงและยกขึ้นมีลักษณะคล้ายกับการเชคแฮนด์ หรือการยกแก้วน้ำกระดก ทำให้การโยนสโตรคเกอร์ถูกเรียกว่าการโยนแบบเชคแฮนด์ด้วย คำว่าสโตรคเกอร์ยังหมายรวมคงผู้โยนโค้งในแบบทั่วๆไปที่มีรอบการหมุนของบอลไม่เกินสามร้อยต้นๆรอบต่อนาทีด้วยครับ การโยนสโตรคเกอร์เป็นแนวที่พบในส่วนที่โยนโค้งส่วนใหญ่ เพราะถือเป็นจุดเริ่มต้นของการโยนโค้งเลยก็ว่าได้ ปกติการโยนสโตรคเกอร์อาจจะไม่ได้ทำให้บอลแรงและรอบจัดมากมาย แต่การโยนสโตรคเกอร์มีข้อดีในเรื่องความแม่นยำในการโยน และคุมทิศทางของลูกโบว์ลิ่งได้ไม่ยากมากครับ แล้วมุมการเข้าปะทะของสโตรคเกอร์ยังไม่กว้างจนเกิดไป ทำให้โอกาสออกสปลิทไม่เยอะมากด้วยครับ นักกีฬาที่โยนสโตรคเกอร์ที่มีชื่อเสียงเช่น วอลเทอร์ เรย์ วิลเลี่ยมส์ จูเนียร์ (Walter Ray Williams Jr.), ปาร์คเกอร์ บอห์น (Parker Bohn III) และนอร์ม ดุค (Norm Duke) ครับ นักกีฬาบางท่านอาจจะโยนสโตรคเกอร์ที่มีวงสวิงที่สูงกว่าและเกี่ยวบอลมากกว่าสโตรค์เกอร์ทั่วไป เช่น พีท เวเบอร์ (Pete Weber) แนวแบบนั้นเรียกว่าพาวเวอร์ สโตรคเกอร์ ที่ต่อยอดมาจากสโตรคเกอร์อีกทีครับ
- ทวีนเนอร์ (Tweener) เป็นคำที่ผันมาจากคำว่าอิน บีทวีน (In-between) ครับ การโยนแบบทวีนเนอร์เป็นแนวที่มีสปีด รอบการหมุน และความรุนแรงอยู่ตรงกลางระหว่างสโตรค์เกอร์ กับแครงค์เกอร์ โดยผู้โยนแนวนี้จะมีรอบเฉลี่ยประมาณ 350 ถึง 400 รอบต่อนาทีครับ แนวการโยนแบบนี้อาจเรียกได้อีกอย่างว่าเป็นการโยนพาวเวอร์ในยุคก่อน โดยแนวนี้ต่างกับการโยนสโตรคเกอร์ตรง ผู้เล่นมีจังหวะการโยนที่ค่อนข้างมีพลังมากกว่าการโยนสโตรคเกอร์ บางท่านอาจมีวงสวิงที่สูงขึ้น หรือบ้างท่านมีการเกี่ยวลูกโบว์ลิ่งจากหลังบอล หรือใต้บอลมากกว่าการโยนสโตรคเกอร์และมีการเทิร์นข้อมือช่วยด้วยหรือบางท่านอาจมีการสะบัดข้อมือเล็กน้อย ทำให้เกิดรอบการหมุนและสปีดที่มากกว่าการโยนแบบสโตรคเกอร์ครับ นักกีฬาที่โยนสไตล์นี้ได้แก่ มีก้า คอยวูนีเอ็มมี่ (Mika Koivuniemi) และบ๊อบ เลิร์น (Bob Learn) ครับ
- แครงค์เกอร์ (Cranker) หรือบางท่านก็เรียกว่าพาวเวอร์ บอล (Power Ball) ซึ่งสองแนวนี้ค่อนข้างมีความใกล้เคียงกัน โดยทั่วไปก็เลยเรียกคนที่โยนกลุ่มนี้ว่าแครงค์เกอร์ครับ การโยนแนวนี้ถือเป็นการโยนมือเดียวที่ดุดันที่สุด สปีดบอลสูงที่สุด และมีรอบการหมุนที่จัดจ้านในย่านนี้ที่สุด นิยมใช้กันในวงนักกีฬาครับ โดยทั่วไปผู้ที่โยนแนวนี้จะมีวงสวิงที่สูง บางท่านอาจจะสูงถึงตั้งฉากกับพื้น และในจังหวะปล่อยมักจะใช้การงอข้อศอกและสะบัดข้อมือออกเพื่อช่วยสร้างรอบการหมุน ทั่วไปแล้วผู้ที่โยนแนวนี้จะมีรอบเฉลี่ยตั้งแต่ 400 รอบต่อนาทีขึ้นไปครับ บางท่านอย่างโรเบิร์ต สมิธ สามารถโยนขึ้นไปได้ถึง 650 รอบต่อนาทีได้เลยครับซึ่งถือว่าจัดจ้านสุดๆแล้ว ข้อดีของการโยนแครงค์เกอร์คือสปีดดี รอบจัด เข้าปะทะพินแรงสะใจวัยรุ่น การเข้าปะทะแรงทำให้เกิดพินแอคชั่น (Pin action) ที่ดี สามารถเพิ่มโอกาสสไตรค์ได้จากพินที่บินว่อนอยู่ตรงนั้นเพราะความรุนแรงของบอล แต่การโยนแครงค์เกอร์ก็มีข้อเสียตรงการควบคุมทิศทางและความสม่ำเสมอทำได้ยากเนื่องจากการวิ่งของลูกมีความรุนแรงมาก ต้องใช้การฝึกฝนอย่างหนักเป็นประจำ ใช้พลังงานในการโยนเยอะทำให้เหนือยเร็วกว่าแบบอื่นๆ เสี่ยงโยนออกสปลิท และอาจเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหากโยนผิดพลาดด้วยครับ ในยุคนี้นักกีฬาที่โยนแครงค์เกอร์มีมากมาย แต่น้าจบก็จะขอยกตัวอย่างอัมเลโต้ โมนาเชลลี่ (Amleto Monacelli) ที่เป็นคนแรกๆที่โยนแครงค์เกอร์ตั้งแต่ยุค 1980 ครับ
- โยนสองมือ (Two-handed delivery) เป็นการโยนที่เพิ่งแพร่หลายมาได้ประมาณ 10 กว่าปีมานี้ โดยคาดว่าที่มา มาจากการโยนตั้งแต่สมัยเด็ก และยึดถือการโยนแนวนี้มาจนโต ผู้ที่โยนสองมือนั้นสามารถสร้างรอบบอลมหาศาลได้อย่างไม่น่าเชื่อเพราะคนที่โยนสองมือส่วนใหญ่แล้วโยนไม่ใส่นิ้วโป้ง (มีคนที่โยนสองมือแต่ใส่นิ้วโป้งด้วย แต่ไม่เยอะ เช่น ชอน มัลโดนาโด้ - Shawn Maldonado) สามารถทำให้ปั่นรอบได้ง่าย วนสปีดการวิ่งมักสร้างมาจากจังหวะกระโดดในก้าวท้ายๆก่อนโยนครับ ผู้ที่ทำให้การโยนสองมือเป็นที่แพร่หลายคือเจสัน เบลมอนตี้ (Jason belmonte) ที่สามารถคว้าแชมป์ PBA ได้ถึง 23 สมัยแล้วตั้งแต่ปี 2008 จนปัจจุบัน เขาเป็นแรงบันดาลให้ๆหลายๆคนในโลกนี้มาฝึกโยนสองมือครับ ข้อดีของการโยนสองมือคือการโยนที่มีรอบบอลมหาศาลโดยมีมุมการออกบอลแบบไฮแทรค ทำให้ลูกเกาะและตะกุยเลนได้ดีและมีการเลี้ยวที่มีพลังรุนแรงมาก ส่วนข้อเสียของการโยนสองมือก็คือรอบบอลมักจะนำสปีดมาก ทำให้ลูกเลี้ยวเกิน หรือควบคุมได้ยากเมื่อเจอกับสถานการณ์น้ำมันแห้ง จำเป็นต้องฝึกจังหวะเดินเพื่อเพิ่มสปีดบอลครับ
- แบคอัพ (ไม่มีรูปประกอบ) (Back-up) เป็นการโยนโค้งให้ลูกเลี้ยวไปคนละทางกับการโยนโค้งปกติ เช่นการโยนมือขวาแล้วให้ลูกเลี้ยวออกไปทางขวา (ซึ่งการโยนโค้กปกติ ถ้าโยนมือขวา ลูกจะเลี้ยวซ้าย) ผู้ที่โยนแนวนี้ในระดับนักกีฬายังสามารถหาได้เป็นบางท่านที่ประเทศญี่ปุ่นครับ
- โยนมือเดียวไม่ใส่นิ้วโป้ง หรือใส่ครึ่งนิ้วโป้ง (ไม่มีรูปประกอบ) (Single hand/no thumb, Single hand/half thumb) เป็นแนวการโยนมือเดียวที่ผู้เล่นไม่ได้ใส่นิ้วโป้งไปในลูก หรืออาจใส่นิ้วโป้งให้จมลงไปในรูนิ้วโป้งแค่ข้อเดียว โดยเน้นการใช้ฝ่ามืออุ้มบอลแล้วล๊อคไว้กับข้อมือและท่อนแขน แล้วจึงปล่อยออกไป ข้อดีของการโยนแนวนี้คือสามารถโยนให้มีรอบเยอะและออกบอลเป็นไฮแทรคได้คล้ายการโยนสองมือ แต่การโยนแนวนี้ก็มีข้อเสียหลักๆเลยคือ ควบคุมการโยนลำบากเพราะลูกมีโอกาสจะดิ้นออกจากท่อนแขนได้ในขณะสวิง และผู้เล่นอาจเล่นบอลที่มีน้ำหนักเยอะมากไม่ค่อยได้ เพราะข้อมือต้องคอยเกร็งไว้เพื่ออุ้มน้ำหนักบอล นักกีฬาที่โยนแนวนี้เช่นทอม โดฮ์ตี้ (Tom Daugherty - ไม่ใส่โป้ง) และทอม สมอลวู้ด (Tom smallwood - ครึ่งโป้ง) ครับ โดยทอม โดฮ์ตี้สามารถโยนมือเดียวไม่ใส่โป้งโดยใช้ลูกที่น้ำหนักเยอะได้ เพราะขนาดตัวและมือที่ใหญ่มากจนสามารถอุ้มบอลไว้ได้ง่ายๆครับ เรื่องนี้เป็นเทคนิคเฉพาะตัว น้าจบไม่แนะนำให้เลียนแบบนะครับ เพราะถ้าฝึกไม่ดี อาจเกิดอุบัติเหตุกับตัวเองได้ครับ
3. ลูกข่าง/ยูเอฟโอ/เฮลิคอปเตอร์ (Spinner/ UFO/ Helicoptor) เป็นการโยนโบว์ลิ่งในอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความแตกต่างจากการโยนโค้งอย่างสิ้นเชิงครับ การโยนลูกข่าง ผู้เล่นจะหมุนปั่นลูกโบว์ลิ่งให้หมุนมีรอบจากด้านบนของลูก (ลูกโค้งจะปั่นรอบจากข้างลูก หลังลูก หรือใต้ลูก) แล้วจึงปล่อยให้ลูกโบว์ลิ่งไหลออกไป ลูกโบว์ลิ่งจะมีลักษณะไถลไปพร้อมกับหมุนในแนวนอนเหมือนลูกข่าง จึงเป็นที่มาขอชื่อเรียกว่าการโยนลูกข่างครับ วัตถุประสงค์นึงของการโยนลูกข่างคือเป็นการโยนตรงที่เพิ่มประสิทธิภาพขึ้นอีกระดับนึงจากรอบการหมุนในแนวนอน ทำให้พินเกิดการดีดกันเองมากขึ้น สำหรับบางท่าน การโยนลูกข่างทำให้ลูกเลี้ยวในลักษณะแบคอัพด้วยครับ ปัจจุบันการโยนลูกข่าง แพร่หลายในแถบประเทศไต้หวัน จีน และมาเก๊าครับ
แนวทางโยนโบว์ลิ่งในปัจจุบันที่ใช้กันก็มีประมาณนี้นะครับ การโยนแต่ละแนวที่มีลักษณะที่แต่งต่างกันล้วนแต่มีความความสำคัญในการเลือกลูกโบว์ลิ่ง และวิธีการเจาะลูกโบว์ลิ่งทั้งนั้น หากเรารู้แนวการโยนของตัวเองแล้ว การวางแผนที่จะเลือกอุปกรณ์ได้อย่างแม่นยำก็จะทำได้ง่ายขึ้น และในส่วนของน้าจบ จากประสบการณ์การเจาะลูกโบว์ลิ่งมาเกือบ 25 ปี น้าจบได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับการโยนในทุกรูปแบบ เพื่อให้สามารถเจาะลูกได้อย่างเหมาะสมตามความต้องการของแต่ละท่านตามสไตล์การโยนส่วนบุคคล หากท่านใดสนใจงานเจาะในแบบเฉพาะทางของน้าจบ
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ภาษาโบว์ลิ่งวันละคำ วันนี้น้าจบขอเสนอคำว่า "ล้างท่อ"
ภาษาโบว์ลิ่งวันละคำ วันนี้น้าจบขอเสนอคำว่า "ล้างท่อ"
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
โบว์ลิ่งน่ารู้ By น้าจบ ตอน โยนโบว์ลิ่งสองมือ มีข้อดียังไง และเป็นมายังไง
สวัสดีครับพี่น้องชาวโบว์ลิ่งทุกท่าน วันนี้น้าจบโบว์ลิ่งเทคโนโลยีมีสาระน่ารู้เกี่ยวกับโบว์ลิ่งอีกเรื่องมาแบ่งปันให้พี่น้องทุกท่านนะครับ วันนี้น้าจบจะมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับเรื่องของการโยนโบว์ลิ่งแบบสองมือนะครับ ว่าการโยนโบว์ลิ่งแบบสองมือเป็นมายังไง และมีข้อดียังไง เพราะจากการค้นคว้าหาข้อมูล และประสบการณ์ตรงที่มีโอกาสได้เจาะลูกให้คนที่โยนสองมือ น้าจบคิดว่าการโยนโบว์ลิ่งแบบสองมือมีประเด็นที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลยครับ
ก่อนอื่นน้าจบจะขอพูดถึงความเป็นมาคร่าวๆของการโยนสองมือก่อนนะครับ ว่าการโยนสองมือจริงๆแล้วหลายคนที่โยนแนวนี้เริ่มต้นโยนโบว์ลิ่งมาตั้งแต่เด็กเลยครับ ถ้านึกถึงช่วงเวลาที่คนเล่นยังเป็นเด็กน้อย หนูน้อยตามป๊าไปโรงโบว์ลิ่ง พอเห็นป๊าโยน ป๊าเล่นแล้วสนุก หนูน้อยก็เลยอยากจะโยนเหมือนป๊าบ้าง แต่!!!!! สิ่งที่หนูน้อยคนนั้นพบก็คือลูกโบว์ลิ่งหนักเกินกว่าที่จะถือมือเดียวแล้วโยนเหมือนป๊าได้ แต่ด้วยความอยากโยน หนูน้อยคนนั้นก็เลยอุ้มลูกโบว์ลิ่งด้วยสองมือน้อยๆ แล้วก็วิ่งขว้างออกไปเลยครับ พอหนูน้อยเล่นโบว์ลิ่งไปได้อีกซักพักนึง หนูน้อยก็เริ่มโตขึ้น พอมีแรงถือลูกโบว์ลิ่งด้วยมือเดียวได้แล้ว ป๊าก็จะเริ่มสอนหนูน้อยให้โยนโบว์ลิ่งแบบมือเดียวเหมือนที่ป๊าโยนละ ทีนี้หนูน้อยคนนี้ก็สามารถเลือกได้แล้วครับ ว่าจะโยนมือเดียวแบบที่ป๊าสอน หรือจะโยนสองมือตามแบบที่เคยชินมาตั้งแต่เริ่มโยนต่อไปครับ ถ้าหนูน้อยเลือกฝึกโยนมือเดียว หนูน้อยก็จะโยนในสไตล์ในแบบที่ผู้เล่นนิยมโยนกันครับ แต่ก็เหมือนชะตาลิขิตหนูน้อยคนนี้ยังเลือกที่จะโยนสองมือในแบบที่หนูน้อยเคยชินครับ แรกๆป๊าก็มีค้านบ้าง แต่ด้วยความดื้อบวกกับความตั้งใจของหนูน้อยทำให้ป๊ายอมให้หนูน้อยโยนในแบบที่ตัวเองชอบแล้วโยนมีความสุขครับ นานวันเข้าหนูน้อยเริ่มโตขึ้น โตขึ้นจนเข้าวัยรุ่นหนูน้อยก็กลายเป็นหนุ่มน้อย เวลานี้หนุ่มน้อยคนนี้พร้อมที่จะโยนสองมือในแบบที่ตัวเองฝึกมาตั้งแต่เด็กด้วยพละกำลังอันดุเดือดของวัยรุ่น ทำให้เกิดมาเป็นผู้โยนโบว์ลิ่งแบบสองมือครับ
การโยนโบว์ลิ่งแบบสองมือเพิ่งได้รับความนิยมได้ประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านครับ ตั้งแต่ปี 2008 โดยนักโบว์ลิ่งอาชีพรุ่นบุกเบิกในแนวการโยนสองมือในช่วงนั้นมีอยู่สองคนที่มีชื่อเสียงครับ คือเจสัน เบลมอนตี้ (Jason Belmonte) จากออสเตรเลีย และออสคู ปาแลร์มา (Osku Palermaa) จากฟินแลนด์ครับ สองท่านนี้ได้เริ่มต้นการเล่นโบว์ลิ่งอาชีพในปี 2006 เหมือนกันครับ โดยเจสันเข้าสู่วงการโบว์ลิ่งอาชีพ PBA ในปี 2008 และได้รับรางวัลนักโบว์ลิ่งหน้าใหม่แห่งปีในปีนั้นด้วยครับ ส่วนออสคูแข่งโบว์ลิ่งอาชีพอยู่ในโซนยุโรปและรายการแข่งขันระดับนานาชาติเป็นหลักก่อนจะเริ่มแข่งในทัวร์นาเมนต์ PBA ในปี 2009 ครับ ในช่วงนั้น นักโบว์ลิ่งสองท่านนี้มีกระแสตอบรับที่ฮือฮามาก เพราะ ณ ตอนนั้น การโยนสองมือในการแข่งขันถือเป็นเรื่องที่แปลก และการโยนที่มีสปีดการวิ่งของลูกที่เร็ว และรอบที่จัดมหาศาลที่ให้ผู้ชมการแข่งขันรวมถึงผู้เล่นด้วยกันเองให้ความสนใจเป็นอย่างมากครับ และจากการแข่งขัน PBA อย่างต่อเนื่อง สองท่านนี้ก็สร้างผลงานการเป็นแชมป์รายการต่างๆมากมายจนทำให้การโยนแบบสองมือเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในวงการ ทุกวันนี้เจสันเป็นแชมป์ PBA ถึง 23 สมัย (ในนี้เป็นแชมป์รายการใหญ่หรือ PBA Majors ถึง 12 รายการซึ่งถือว่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ PBA แซงหน้าเอิร์ล แอนโธนีในตำนานไปแล้ว) ส่วนออสคู เป็นแชมป์ในรายการของ PBA รวม 5 สมัยครับ
ผลงานที่โดดเด่นของสองท่านนี้จึงเป็นการสร้างเวทีให้ยอดฝีมือของนักโบว์ลิ่งสองมือได้แจ้งเกิดอีกหลายคนครับไม่ว่าจะเป็น เยสเปอร์ สเวนสัน (Jesper Svensson) ราชาแห่งลูกยูรีเทน, ไคล์ ทรูป (Kyle Troup), แอนโธนี่ ไซมอนเซน (Anthony Simonsen) และคนอื่นๆอีกมากมาย แม้แต่วอลเทอร์ เรย์ วิลเลี่ยมส์ จูเนียร์ (Walter Ray Williams Jr.) ที่ครองแชมป์ PBA ถึง 47 สมัยก็ยังหันมาฝึกโยนโบว์ลิ่งสองมือในวัย 50 กว่าปี จนเป็นข่าวสะเทือนวงการโบว์ลิ่งเลยทีเดียว การฝึกนี้ก็ไม่ได้เป็นการฝึกเล่นๆ เพราะวอลเทอร์ เรย์นำการโยนสองมือมาใช้ในการแข่งขัน PBA50 หรือการแข่งขัน PBA ในระดับซีเนียร์ที่อายุมากกว่า 50 ปีด้วย และวอลเทอร์ เรย์ยังสามารถโยน 300 แต้มเพอร์เฟคเกมได้ในการแข่ง PBA50 ในปี 2019 ได้ด้วยการโยนสองมือครับ
ในส่วนของความเป็นมาและเรื่องราวของการโยนสองมืออาจจะยาวไปนิด น้าจบขอเข้าถึงเนื้อหาและข้อมูลทางเทคนิคของการโยนสองมือบ้างนะครับ 555 การโยนสองมือมีข้อดีหลักๆเลยคือ
- สามารถโยนให้มีรอบหมุนจัดจ้านได้ไม่ยากครับ เพราะการโยนสองมือไม่จำเป็นต้องมีการใส่นิ้วโป้งจึงไม่ต้องพะวงเรื่องจังหวะหลุดของนิ้วโป้ง
- นอกจากการโยนรอบเยอะแล้ว การโยนสองมือมักทำให้ผู้เล่นมีการปล่อยลูกเป็นแบบไฮแทรคซึ่งสามารถให้สู้น้ำมันและโยนโค้งในสภาพเลนที่ลงน้ำมันหนาๆหรือน้ำมันยาวได้ดีครับ
- การโยนสองมือสามารถรับน้ำหนักของลูกได้มากกว่าการโยนมือเดียว เพราะใช้สองมือช่วงกันพยุงลูก
- โอกาสบาดเจ็บที่นิ้วยากกว่าการโยนมือเดียวเพราะการโยนไม่ใส่นิ้วโป้ง ทำให้ไม่เกิดการงัดของนิ้วที่รูนิ้วโป้ง จึงทำให้ไม่บาดเจ็บที่นิ้วได้มากกว่า
- เนื่องจากการโยนสองทำให้รอบจัดสู้น้ำมันได้ดีมาก จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ลูกโบว์ลิ่งเกรดที่สู้น้ำมันมากก็สามารถเลี้ยวได้ตามตั้งใจ สามารถประหยัดงบไปได้ครับ
แต่การโยนสองมือก็ยังมีจุดอ่อนอยู่บ้างซึ่งหากท่านสนใจโยนสองมือ อาจจะต้องฝึกฝนเรื่องเหล่านี้เพื่อปิดจุดอ่อนของการโยนสองมือครับ
- ผู้ที่โยนสองมือมีโอกาสที่รอบการหมุนของลูกจะมากกว่าสปีดการวิ่งของลูกได้ง่าย ทำให้ลูกเลี้ยวมากเกินไป การพัฒนาจังหวะการเดินและก้าวก่อนโยนในแบบสองมือจะสามารถเพิ่มสปีดการโยนได้ครับ
- วางไลน์การโยนให้แม่นยำได้ค่อนข้างยากในช่วงแรก ต้องอาศัยการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความเคยชินกับจังหวะของการโยนสองมือครับ
ในส่วนของการเจาะลูกโบว์ลิ่งสำหรับคนโยนสองมือ นับตั้งแต่ USBC มีการประกาศกฏเรื่องการห้ามเจาะรูบาลานซ์ (สำหรับคนโยนสองมือ ถ้าไม่ได้ใส่นิ้วโป้ง รูนิ้วโป้งก็จะถือเป็นรูบาลานซ์เช่นกัน) ที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือนสิงหาคม 2020 น้าจบจึงได้ยึดแนวทางการเจาะเฉพาะทางสำหรับผู้ที่โยนสองมือโดยเฉพาะเรื่อยๆมา เพื่อให้ลูกโบว์ลิ่งมีประสิทธิภาพสูงที่สุดครับ หากท่านใดสนใจเรื่องการเจาลูกแบบสำหรับโยนสองมือ สามารถนัดเวลาเข้ามาพูดคุยรายละเอียดกับน้าจบได้โดยนัดหมาย
ได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
โบว์ลิ่งน่ารู้ By น้าจบ ตอน เส้นน้ำมันบนลูกโบว์ลิ่งของคุณเป็นแบบไหนเวลาโยน ลองเช็คกันดูครับ
สวัสดีครับ พี่น้องชาวโบว์ลิ่งทุกท่าน วันนี้น้าจบโบว์ลิ่งเทคโนโลยีก็มีอีกสาระดีๆเกี่ยวกับโบว์ลิ่งมาฝากทุกท่านนะครับ วันนี้น้าจบจะมาเล่าให้ฟังเรื่องเกี่ยวกับเส้นแทรคน้ำมัน หรือเส้นวงน้ำมันรอบลูกที่ติดมาบนลูกโบว์ลิ่งตอนโยน ว่าลักษณะทั่วไปแล้วแบ่งเป็นกี่แบบ แล้วแต่ละแบบมีความแตกต่างกันยังไงบ้าง หลังจากที่ได้รับชมแล้ว ท่านยังสามารถไปเปรียบเทียบกับเส้นวงแทรคน้ำมันของท่านเองได้ด้วยนะครับ ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อการโยนของท่านเช่นกันครับ มาลองดูกันเลยครับ
ก่อนอื่นน้าจบขออ้างอิงถึงหลักการโยนโบว์ลิ่งพื้นฐานก่อนเลยนะครับ ว่าโดยพื้นฐานแล้ววิธีการโยนโบว์ลิ่งก็คือการโยนโบว์ลิ่งไม่ใช่การเขวี้ยงลูกออกไปครับ แต่เป็นการกลิ้งลูกโบว์ลิ่งให้เป็นไปในทิศทางที่เราต้องการครับ เช่นหากเราต้องการโยนตรง เราก็กลิ้งลูกโบว์ลิ่งให้ไถลและกลิ้งตรงไปยังจุดหมายที่เราเล็งเอาไว้ แต่หากเราโยนโค้ง เราก็ต้องกลิ้งลูกให้มีทิศทางการหมุนที่ขวางแนวที่ลูกไถลครับ จึงจะทำให้เกิดการเลี้ยวโค้งได้ ประมาณนี้ครับ ลักษณะการกลิ้งของแต่ละคนก็จะแตกต่างออกไปตามมุมมือ วิธีการโยน และจังหวะ (ทามมิ่ง - Timing) ของแต่ละคนครับ โดยปกติแล้วเลนโบว์ลิ่งมีการลงน้ำมันเอาไว้เพื่อถนอมพื้นเลนจากการเสียดสีและกระแทกของลูกโบว์ลิ่ง เมื่อเรากลิ้งลูกไปบนเลนก็จะมีน้ำมันเป็นเส้นวงรอบลูกติดขึ้นมากับลูกโบว์ลิ่งที่เราใช้โยน เส้นที่ว่าก็เปรียบได้ลายนิ้วมือที่เป็นลักษณะเฉพาะของผู้เล่นเลยก็ว่าได้ครับ ท่ีนี้ลักษณะของเส้นน้ำมันที่ว่าก็สามารถแบ่งได้ตามนี้ครับ สามารถดูภาพที่โพสประกอบได้ด้วยครับ
1. เส้นน้ำมันเต็มวงลูก หรือเส้นน้ำมันแบบคนโยนฟูลโรลเลอร์ (Full Roller) ลักษณะของเส้นน้ำมันจากการโยนแบบฟูลโรลเลอร์คือเส้นน้ำมันจะพาดผ่านช่วงระหว่างตั๊ม (นิ้วโป้ง) และฟิงเกอร์ (นิ้วกลางและนิ้วนาง) และเส้นน้ำมันแบบนี้จะยังพาดผ่านกึ่งกลางลูกโบว์ลิ่งด้วยครับ จึงเรียกว่าการหมุนแบบเต็มวงหรือฟูลโรลเลอร์นั่นเองครับ ผู้ที่โยนเส้นแทรควงน้ำมันแบบนี้มักจะเป็นผู้ที่โยนปล่อยลูกแบบมือก้ามปู ผู้ที่โยนแบบไม่ใส่นิ้วโป้ง หรือผู้ที่โยนสองมือครับ การโยนแนวนี้อาจโยนให้รอบจัดยากเนื่องจากลูกโบว์ลิ่งวิ่งในวงขนาดใหญ่ เหมือนใช้ล้อรถยนต์ขนาดใหญ่ครับ แต่การโยนแบบนี้ก็ทำให้ลูกมีคุณสมบัติในการตะกุยเลนในสภาพน้ำมันต่างๆได้ดีเช่นกันครับ
2. เส้นน้ำมันไม่เต็มวง หรือเส้นน้ำมันแบบคนโยนเซมิโรลเลอร์ (Semi Roller) ลักษณะเส้นน้ำมันแบบเซมิโรลเลอร์จะแตกต่างออกไป คือจะไมวิ่งพาดตรงช่วงระหว่างตั๊มและฟิงเกอร์แล้วครับ แต่จะมีลักษณะวิ่งอยู่ทางด้านซ้ายของตั๊มและฟิงเกอร์แทน (สำหรับผู้ที่โยนมือขวา) สำหรับเซมิโรลเลอร์ อีกปัจจัยที่เกี่ยวข้องก็คือความห่างระหว่างเส้นน้ำมันกับแนวตั๊มและฟิงเกอร์ซึ่งเป็นเกณฑ์ในการใช้แบ่งประเภทเส้นแทรคน้ำมันครับ ซึ่งก็สามารถแบ่งประเภทได้ประมาณนี้ครับ
- ไฮแทรค (High Track) ลักษณะเส้นน้ำมันของคนที่โยนไฮแทรคก็คือเส้นน้ำมันค่อนข้างจะชิดแนวตั๊มและฟิงเกอร์มากๆ แม้ลูกจะไม่ได้วิ่งวงใหญ่เท่ากับฟูลโรลเลอร์ แต่ก็ยังสามารถเกาะเลนและสู้น้ำมันได้ดีอยู่ครับ ส่วนใหญ่แล้วการโยนไฮแทรคมักจะเกิดกับผู้เล่นที่โยนแบบสโตรคเกอร์ หรือผู้ที่โยนสองมือเป็นบางคนครับ เช่น ปาร์คเกอร์ บอห์น (Parker Bohn), เจสัน (Jason Belmonte) ครับ
- มีเดียมแทรค (Medium Track) ลักษณะเส้นน้ำมันของผู่ที่โยนสไตล์นี้ เส้นน้ำมันจะอยู่ห่างจากแนวตั๊มและฟิงเกอร์เล็กน้อยตามรูปครับ การทำงานช้าเร็วของลูกสำหรับคนโยนสไตล์นี้ ขึ้นกับความสัมพันธ์ของรอบการหมุนและความเร็วในการโยนบอลเป็นหลักเลยครับ แทรคน้ำมันแบบนี้ยังเป็นที่นิยมในหมู่นักกีฬาด้วยครับ
- โลว์แทรค (Low Track) ลักษณะเส้นน้ำมันของผู้ที่โยนในสไตล์นี้ มักจะอยู่ห่างออกไปจากแนวตั๊มและฟิงเกอร์เยอะครับ ลูกที่วิ่งแบบโลว์แทรคก็จะมีระยะการวิ่งที่ไถลไกลมากกว่าแบบอื่นๆด้วยครับ ผู้ที่โยนออกบอลลักษณะนี้ อาจมีการพลิกมือในขณะโยนมากกว่าแบบอื่น จึงทำให้มีการปั่นบอลออกเป็นโลว์แทรคครับ นักกีฬาดังๆที่โยนออกบอลเป็นโลว์แทรคเช่น ราฟาเอล “ปะเอ็ง” เนโปมูเซโน่ (Rafael “Paeng” Nepomuceno) ตำนานแชมป์โลก 4 สมัยครับ
จากที่น้าจบได้เล่าลักษณะของเส้นน้ำมันในแบบตามๆให้ได้รับชมกัน น้าจบอยากแชร์อีกเรื่องครับ คือโยนโบว์ลิ่งแทรคไหน ไม่มีถูกไม่มีผิดการปล่อยลูกเป็นแต่ละแทรคของแต่ละคนเป็นสิ่งที่เกิดจากการปล่อยลูกตามลักษณะความถนัดของแต่ละท่าน ดังนั้นท่านจึงไม่ต้องกังวลในส่วนนี้นะครับ แต่สิ่งที่สำคัญคือ หากท่านรู้แทรคน้ำมันของท่านเองก็จะเป็นประโยชน์ในการวางแผนเลือกซื้อลูกโบว์ลิ่งที่ท่านใช้ให้เหมาะสมกับแนวการโยนในต่อๆไปเลยครับ และน้าจบเองก็ได้ศึกษาค้นคว้าขอมูลเทคนิคและวิธีการเจาะลูกในแทรคน้ำมันแต่ละแบบที่ต่างกันมานานกว่า 20 ปีเพื่อคุณภาพสูงสุดในการเจาะลูกโบว์ลิ่งครับ หากท่านสนใจพูดคุยหรือปรึกษาน้าจบให้ติดต่อมาตามลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ และวันนี้น้าจบโบว์ลิ่งเทคโนโลยีขอลาไปก่อน พบกันในตอนหน้านะครับ
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ภาษาโบว์ลิ่งวันละคำวันนี้ น้าจบขอเสนอคำว่า "สปลิท"
ภาษาโบว์ลิ่งวันละคำวันนี้ น้าจบขอเสนอคำว่า "สปลิท"
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
โบว์ลิ่งน่ารู้ ตอน ใช้ลูกโบว์ลิ่งยูรีเทนยังไงให้ปังๆ ทำยังไงให้ลูกโบว์ลิ่งลูกยูรีเทนเลี้ยวดีสม่ำเสมอ By น้าจบ
สวัสดีครับพี่น้องชาวโบว์ลิ่งทุกท่าน วันนี้น้าจบโบว์ลิ่งเทคโนโลยีมีเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับโบว์ลิ่งมาแบ่งปันให้ทุกท่านได้รับชมนะครับ หลายท่านอาจใช้ลูกโบว์ลิ่งผิวยูรีเทนอยู่ หรืออาจจะเคยใช้ลูกโบว์ลิ่งผิวยูรีเทนมาก่อน น้าจบเชื่อว่าท่านไหนที่เคยผ่านการโยนลูกโบว์ลิ่งยูรีเทนมาก่อน ก็น่าจะพบปัญหาเดียวกันคือ “ทำไมโยนได้ไม่กี่ที ลูกยูรีเทนก็ไม่ค่อยจะเลี้ยวแล้ว” วันนี้น่าจบมีคำตอบและแนวทางแก้ไขในแบบฉบับน้าจบมาแชร์ให้ทุกท่านนะครับ
ก่อนอื่นน้าจบจะเล่าเกี่ยวกับลักษณะและความเป็นมาของผิวยูรีเทนก่อนนะครับว่าทำไมใช้งานไปพักนึงแล้วลูกถึงไม่เลี้ยวนะครับ ก่อนที่จะมีลูกโบว์ลิ่งยูรีเทนใช้ ลุกโบว์ลิ่งที่ใช้ในยุคนั้นจะเป็นลูกโบว์ลิ่งผิวยางและลูกโบว์ลิ่งผิวพลาสติกนะครับ แต่ลูกยางก็เสื่อมความนิยมลงทุกวันๆ และลูกโบว์ลิ่งพลาสติกก็กำลังเข้ามาแทนที่เรื่อยๆ แต่ปัญหาก็คือลูกโบว์ลิ่งผิวพลาสติกมีเนื้อที่ค่อนข้างแข็ง วิ่งไถลไม่ค่อยเกาะเลนเมื่อเจอสภาพเลนที่มีน้ำมันจึงทำให้เกิดการพัฒนาผิวสูตรใหม่ขึ้น ในช่วงปี 1980 ลูกโบว์ลิ่งผิวยูรีเทนได้ถูกผลิตและนำมาใช้ และแพร่หลายในเวลาต่อมาเพราะความสามารถในการเลี้ยวโค้งที่เหนือกว่าลูกผิวพลาสติกครับ ลักษณะเด่นของผิวยูรีเทนคือ เป็นผิวที่มีเนื้อละเอียดไม่เป็นรูพรุนและนิ่ม และเพื่อเพิ่มความสามารถในการเกาะเลน โรงงานผู้ผลิตก็มักจะขัดผิวลูกยูรีเทนที่เบอร์ 500-1500 กริทครับ ดังนั้นกลไกการเกาะเลนของผิวยูรีเทนอยู่ที่ความนิ่มและความหยาบของผิวครับเพราะเป็นการเพิ่มหน้าสัมผัสกับเลนและเพิ่มความฝืดไปด้วยในเวลาเดียวกัน แต่เหรียญมีสองด้านครับ ลูกยูรีเทนเองก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกันครับ ด้วยความที่เนื้อยูรีเทนมีลักษณะที่ละเอียดไม่เป็นรูพรุน จุดนี้เลยทำให้ลูกยูรีเทนดูดน้ำมันไม่ได้ครับ และพอโยนไปหลายๆที ลูกก็จะชุ่มน้ำมันแล้วก็จะไถลแล้วก็ไม่ค่อยเกาะเลนครับ อีกอย่างคือเมื่อโยนไปหลายๆเกมผิวที่เคยขัดหยาบไว้ก็จะเริ่มเปลี่ยนสภาพกลายเป็นเงาขึ้นไม่หยาบเหมือนตอนซื้อลูกมาใหม่ๆเพราะการเสียดสีกับพื้นเลนครับ น้าจบจึงมีแนวทางในการแก้ปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้นกับลูกโบว์ลิ่งผิวยูรีเทนจากประสบการณ์ของน้าจบมาแบ่งปันให้พี่น้องที่ใช้ลูกยูรีเทน ตามขั้นตอนด้านล่างนี้เลยนะครับ
1. เช็ดลูกให้แห้งก่อนโยนทุกครั้งครับ: ถือเป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่พื้นฐานที่สุดและจำเป็นที่สุดเช่นกันครับ เพราะการเช็ดลูกทุกครั้งเป็นการเอาน้ำมันออกจากผิวทำให้ลูกโบว์ลิ่งยังคงเกาะเลนได้อยู่ครับ ถ้าลองดูการแข่งขัน PBA นักกีฬาที่มีชื่อเสียงมากๆด้านการใช้ลูกยูรีเทนคือเยสเปอร์ สเวนสัน (Jesper Svensson) ถ้าสังเกตุตอนเขาโยน จะเห็นว่าเขาหยิบผ้าขึ้นมาเช็ดลูกยูรีเทนของเขาจนแห้งก่อนโยนทุกครั้งครับ แล้วถ้าถามว่าใช้ผ้าอะไรเช็ดลูกโบว์ลิ่งดี น้าจบแนะนำให้ใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์ทั่วๆไปเลยครับ ถ้าเป็นไปได้ ใช้ของ 3M ได้จะดีมากครับเพราะเส้นใยผ้าไมโครไฟเบอร์ของ 3M ค่อนข้างจะกวาดเอาน้ำมันออกไปได้เกลี้ยงมากๆครับ และน้าจบยังแนะนำให้มีผ้าเช็ดลูกไว้หลายๆผืนต่อการโยน 1 รอบนะครับ เพราะถ้าใช้ผ้าผืนเดียวเช็ดไปนานๆ ผ้าก็จะชุ่มน้ำมันแล้วทำให้ตอนเช็ดลูก ผิวของลูกยูรีเทนจะไม่หายชุ่มน้ำมันซะทีเดียวครับ ควรมีการเปลี่ยนผ้าเช็ดลูกอยู่เรื่อยๆระหวางการเล่นเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานของลูกยูรีเทนครับ
2. ขัดผิวลูกโบว์ลิ่งบ่อยๆครับ: เพราะอีกเงื่อนไขในการทำงานของยูรีเทน นอกจากผิวต้องแห้งก็คือผิวต้องหยาบครับ เมื่อโยนไปหลายๆเกมเข้า ค่าความหยาบของผิวลูกโบว์ลิ่งจะเปลี่ยนไป ผู้เล่นจึงจำเป็นต้องปรับผิวของยูรีเทนอยู่ตลอดครับ อย่างน้อยที่สุดหลังการเล่นเสร็จ 1 รอบก็ควรมีการขัดผิวซักครั้งครับ หรือถ้าเป็นไปได้ขัดผิวหลังจบทุกๆเกมได้ยิ่งดีเลยครับ ขั้นตอนนี้ไม่ได้ยากอย่างที่คิดนะครับ ท่านสามารถทำเองด้วยมือเปล่าได้เลยครับ หากท่านไม่สามารถหาแผ่นขัดที่เป็นสีแดงๆกลมๆในรูปได้ ท่านสามารถใช้กระดาษทรายทั่วไปที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านฮาร์ดแวร์มาขัดลูกแทนได้ครับ หากเป็นแผ่นขัดน้าจบแนะนำให้ใช้เบอร์ 500 ครับ แต่ถ้าเป็นกระดาษทรายน้าจบขอแนะนำเป็นเบอร์ 600 ครับ และการขัดลูกจะต้องขัดโดยนำกระดาษทรายลูบไปในทางที่ขวางเส้นวงน้ำมันบนลูกครับเพื่อความขรุขระของผิวในทิศทางที่ขวางการวิ่ง สามารถช่วงในเรื่องของการเบรคของบอลได้ครับ
3. ลงน้ำยาเช็ดทำความสะอาดลูกเสมอหลังโยนโบว์ลิ่งเสร็จในแต่ละรอบครับ: การเล่นแต่ละครั้งก็จะทำให้มีสารพัดคราบทั้งคราบน้ำมัน คราบฝุ่น คราบสกปรกติดจากเลนมาที่ลูกของท่านครับ หลังโยนโบว์ลิ่งเสร็จในแต่ละรอบ ท่านจึงควรที่จะลงน้ายาเช็ดทำความสะอาดลูกทุกครั้งครับเพื่อนำคราบสกปรกออกและคงความใหม่ของผิวครับ ซึ่งทางเพจ Alpha Bowling ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์โบว์ลิ่งก็มีการจำหน่ายน้ำยาสำหรับเช็ดทำความสะอาดลูกอยู่ หรือถ้าท่านใดอยากจะ DIY ก็สามารถใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลมาฉีดพ่นสำหรับใช้เช็ดลูกโบว์ลิ่งกก่อนที่จะเก็บลูกโบว์ลิ่งเข้ากระเป๋าได้เหมือนกันครับ
แนวทางในการแก้ไขปัญหาจากผิวลูกยูรีเทนเบื้องต้นในฉบับน้าจบก็มีประมาณนี้นะครับ หากมีเรื่องราวสาระน่ารู้ใดๆน่าสนใจเกิดขึ้น น้าจบจะมาแบ่งปันให้ทุกท่านอีกทีนะครับ วันนี้น้าจบต้องขอลาไปก่อน และพบกันใหม่ในตอนหน้านะครับ สวัสดีครับ
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
น่าสนใจ: รีวิวลูกโบว์ลิ่งสแปร์ในตำนาน
น่าสนใจ: รีวิวลูกโบว์ลิ่งสแปร์ในตำนาน โคลัมเบีย 300 บลูดอท เรื่องเนื้อแข็ง วิ่งตรง ไม่เลี้ยวปลาย ต้องลูกนี้เท่านั้น
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ภาษาโบว์ลิ่งวันละคำ วันนี้น้าจบขอเสนอคำว่า "บอลสแปร์"
ภาษาโบว์ลิ่งวันละคำ วันนี้น้าจบขอเสนอคำว่า "บอลสแปร์"
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ภาษาโบว์ลิ่งวันละคำวันนี้ น้าจบขอเสนอคำว่า "เฟรมที่ 10"
ภาษาโบว์ลิ่งวันละคำวันนี้ น้าจบขอเสนอคำว่า "เฟรมที่ 10"
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ภาษาโบว์ลิ่งวันละคำวันนี้ น้าจบขอเสนอคำว่า แอบโพรช
ภาษาโบว์ลิ่งวันละคำวันนี้ น้าจบขอเสนอคำว่า แอบโพรช
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ภาษาโบว์ลิ่งวันละคำวันนี้ น้าจบขอเสนอคำว่า"สแปร์ "
ภาษาโบว์ลิ่งวันละคำวันนี้ น้าจบขอเสนอคำว่า"สแปร์ "
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ภาษาโบว์ลิ่งวันละคำวันนี้ น้าจบขอเสนอคำว่า "สไตรค์"
ภาษาโบว์ลิ่งวันละคำวันนี้ น้าจบขอเสนอคำว่า "สไตรค์"
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ภาษาโบว์ลิ่งวันละคำวันนี้ น้าจบขอเสนอคำว่า บอลรีเทิร์น
ภาษาโบว์ลิ่งวันละคำวันนี้ น้าจบขอเสนอคำว่า บอลรีเทิร์น
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ภาษาโบว์ลิ่งวันละคำกับน้าจบ
ภาษาโบว์ลิ่งวันละคำกับน้าจบ
สวัสดีครับพี่น้องชาวโบว์ลิ่งทุกท่าน พบกันอีกครั้งกับน้าจบโบว์ลิ่งนะครับ
น้าจบมาแชร์ความหมายของคำในภาษาโบว์ลิ่งทั้งทางการและทางเกรียนให้ทุกท่านได้รับชมกันวันละคำนะครับ
วันนี้ขอเสนอคำว่า “โบว์ลิ่ง”
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
โบว์ลิ่งน่ารู้ ตอน พาย้อนรอยเทคโนโลยีลูกโบว์ลิ่งวันวาน By น้าจบโบว์ลิ่งเทคโนโลยี
โบว์ลิ่งน่ารู้ ตอน พาย้อนรอยเทคโนโลยีลูกโบว์ลิ่งวันวาน By น้าจบโบว์ลิ่งเทคโนโลยี
สวัสดีครับพี่น้องชาวโบว์ลิ่งทุกท่าน วันนี้น้าจบโบว์ลิ่งเทคโนโลยี มีเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับลูกโบว์ลิ่งมาแชร์ มาแบ่งปันพี่น้องทุกท่านนะครับ ในฐานะที่น้าจบเป็นช่างเจาะลูกโบว์ลิ่ง น้าจบจึงได้ค้นคว้า ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลูกโบว์ลิ่งมาตลอด 25 ปีที่ตั้งแต่ที่เริ่มทำงานเจาะลูกโบว์ลิ่งมา วันนี้น้าจบอยากพาทุกท่านย้อนรอยไปดูการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการของเทคโนโลยีลูกโบว์ลิ่งตั้งแต่อดีตมาจนถึงทุกวันนี้ว่าเทคโนโลยีของลูกโบว์ลิ่งเปลี่ยนแปลงไปยังไงบ้างตั้งแต่เริ่มมีกีฬาโบว์ลิ่งยุคใหม่ครับ
โบว์ลิ่งเป็นการละเล่นที่คาดว่ามีมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณจากหลักฐานที่พบ คือ อุปกรณ์คล้ายลูกบอลและแท่งพินที่ในสุสานของชาวอียิปต์โบราณ การละเล่นที่คล้ายๆกันก็ยังถูกพบกระจายอยู่ในแถบยุโรปด้วย แต่น้าจบจะขอพูดในส่วนที่เกิดขึ้นในยุคโบว์ลิ่งสมัยใหม่ที่เป็นต้นแบบของโบว์ลิ่งที่พวกเราเล่นกันอยู่ในทุกวันนี้ครับ โรงโบว์ลิ่งในร่มแห่งแรกถูกสร้างขึ้นที่ นิวยอร์คในปี 1840 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของโบว์ลิ่งที่เป็นกีฬาในร่มจนถึงทุกวันนี้ครับ แน่นอนครับว่าถ้ามีโรงโบว์ลิ่ง สิ่งที่ต้องตามเลนโบว์ลิ่งมาคู่กันเหมือนแคปหมูกับน้ำพริกหนุ่มก็คือ ”ลูกโบว์ลิ่ง” ครับ ยุคของลูกโบว์ลิ่งก็จะสามารถแบ่งได้ประมาณนี้ครับ
- ยุคลูกโบว์ลิ่งไม้ (1800s - 1920): ในยุคเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงปี 1800s จนถึงประมาณช่วงปี 1920 ลูกโบว์ลิ่งทำมาจากไม้เนื้อแข็งจำพวกแก้วเจ้าจอม หรือ Lignum Vitae ครับ เพราะเป็นไม้ที่เนื้อแข็งและทนทานมาก ไม่แตกง่ายๆ และในสมัยนั้นยังหาได้ไม่ยากมากครับ การผลิตในยุคนั้นจำเป็นต้องใช้ฝีมือแรงงานในการผลิตค่อนข้างสูงครับ เพราะการผลิตจะต้องทำไม้แข็งที่เป็นแท่งมาลอกเปลือกออกจนเหลือแต่เนื้อแล้วค่อยมากลึงจากแท่งไม้จนได้รูปทรงกลมครับ แล้วค่อยเอามาขัดเสี้ยนแล้วเจาะรู ในยุคนั้น ลูกโบว์ลิ่งเจาะรูแค่สองรูเท่านั้นครับ ไว้สำหรับใส่นิ้วโป้งและนิ้วกลาง ลูกโบว์ลิ่งที่เป็นไม้ ทุกวันนี้ไม่สามารถหาได้แล้ว เพราะถือเป็นของเก่ามาก อาจจะมีอายุเท่ารุ่นทวดหรือเก่ากว่านั้นเลยทีเดียว ซึ่งน้าจบเองก็ยังไม่เคยเห็นลูกโบว์ลิ่งแบบนี้มาก่อนเหมือนกัน หวังว่าซักครั้งในชีวิตจะได้เห็นลูกโบว์ลิ่งไม้ดั้งเดิมของจริงสักลูกเป็นบุญตาครับ 5555
- ยุคลูกโบว์ลิ่งผิวยาง (1905 - ต้นยุค 1980s): ในช่วงปี 1905 ก็เริ่มมีการผลิตลูกโบว์ลิ่งผิวยาง ในเวลาเดียวกันกับที่ยังมีการใช้ลูกโบว์ลิ่งไม้อยู่ ลูกโบว์ลิ่งยางถูกผลิตจากยางแข็ง SBR และนำมาผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพด้วยกำมะถันหรือการวัลคาไนซ์ (vulcanization) และเติมสารเคมีอื่นๆจนยางออกมามีสีดำ เพื่อเพิ่มความทนทานและยืดหยุ่นยิ่งขึ้น โดยยางแข็งจะถูกใช้ทำเป็นเปลือกนอกเพื่อหุ้มแกนด้านในของลูกโบว์ลิ่งที่ทำมาจากไม้คอร์กครับ หลังจากปี 1920 ลูกโบว์ลิ่งที่ผลิตจากยางได้รับความนิยมมากขึ้น แทนที่ลูกโบว์ลิ่งไม้ เพราะต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ใช้ผลิตลูกโบว์ลิ่งไม้เริ่มหายากขึ้นและยุคนั้นอุตสาหกรรมเริ่มก้าวหน้าขึ้นทำให้การผลิตลูกโบว์ลิ่งยาง สามารถทำได้ง่ายกว่าลูกโบว์ลิ่งไม้ และลูกโบว์ลิ่งยางยังมีคุณสมบัติในการยึดจับผิวเลนที่ดีกว่ากว่าลูกโบว์ลิ่งไม้ ทำให้เป็นที่นิยมในหมู่คนที่โยนโค้งมากกว่าด้วยครับในสมัยนั้น ลูกโบว์ลิ่งยางยังครองตลาดมาจนถึงช่วงต้นของยุค 1980 เลยครับจนถูกแทนที่ด้วยลูกโบว์ลิ่งผิวพลาสติกและผิวยูรีเทนในท้ายสุดครับ ในยุคของลูกโบว์ลิ่งยาง บริษัทเจ้าตลาดก็มีบรันสวิค (Brunswick), แมทฮัตตัน รับเบอร์ (Manhattan Rubber), ดันลอป (Dunlop) และ อีโบไนท์ (Ebonite) ครับ ทุกวันนี้ลูกโบว์ลิ่งผิวยางก็ยังสามารถหาซื้อมือสองได้อยู่บ้างครับ
- ยุคลูกโบว์ลิ่งผิวพลาสติก (1959 - ปัจจุบัน): ในปี 1959 ในยุคที่ลูกโบว์ลิ่งยางกำลังรุ่งเรือง ก็มีลูกโบว์ลิ่งแบบใหม่เกิดขึ้นมาในเวลานั้นครับ พลาสติกโพลีเอสเตอร์ (Polyester) เริ่มถูกใช้ผลิตลูกโบว์ลิ่ง ถึงผิวพลาสติกจะเกาะเลนไม่ดีเท่าผิวลูกโบว์ลิ่งที่เป็นยาง แต่ผิวพลาสติกก็มีเนื้อที่เหนียวกว่า ทนทานกว่า และมีการสึกหรอช้ากว่าผิวยาง ที่สำคัญคือการเจาะลูกโบว์ลิ่งยาง จะมีกลิ่นที่เหม็นยางไหม้มากๆ และจะมีฝุ่นยางดำๆคลุ้งเต็มไปหมด จากประสบการณ์ที่เคยเจาะลูกยางของน้าจบ เจาะไปลูกเดียวร้านเหม็นยางไปเป็นวันเลยครับ และเวลาที่โยนลูกยางก็ยังทำให้มือดำจากฝุ่นดำของยางด้วยครับ แต่การเจาะลูกโบว์ลิ่งที่เป็นพลาสติกจะไม่พบปัญหาเรื่องกลิ่นและฝุ่นดำ ทำให้ลูกโบว์ลิ่งผิวพลาสติกได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนแทนที่ลูกโบว์ลิ่งยางได้ในที่สุดครับ ในยุคนั้นการทำให้ลูกโบว์ลิ่งพลาสติกสามารถโยนเลี้ยวได้มากขึ้นก็มักจะนำลูกพลาสติกมาขัดผิวด้าน เพื่อให้ลูกสามารถเกาะเลนได้มากขึ้นครับ และในช่วงที่ยุคลูกพลาสติกกำลังบูม คนที่สามารถใช้ลูกพลาสติกโยนคว้ารางวัลได้อย่างล้นหลามจนมีชื่อเสียงมากๆคนนึง คือ มาร์ค รอธ (Mark Roth) ครับ (และยังเป็นคนแรกที่สามารถโยนเก็บสปลิทพิน 7-10 ได้ในการแข่งขันรอบ TV ในปี 1980 ด้วย) เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จจน PBA ต้องจัดการแข่ง PBA Mark Roth Plastic Ball Championship ในช่วงปี 2009 ถึง 2014 กันเลยครับ เพื่อให้เกียรติกับมาร์ค รอธนั่นเอง
- ยุคลูกโบว์ลิ่งผิวยูรีเทน (1980s - ปัจจุบัน): ลูกโบว์ลิ่งผิวยูรีเทนได้เกิดขึ้นในช่วงยุคที่ลูกโบว์ลิ่งผิวยางเสื่อมความนิยมพอดีครับ และลูกผิวยูรีเทนก็ยังถูกใช้ควบคู่กับลูกผิวพลาสติกด้วย ลูกโบว์ลิ่งชนิดนี้ผลิตมาจากสารโพลียูรีเทน (Polyurethane) ซึ่งมีลักษณะนิ่ม และมีรูพรุนมากกว่าผิวพลาสติก จึงทำให้เกาะผิวเลนได้ดีกว่าลูกพลาสติก ยุคนั้นลูกยูรีเทนถือเป็นลูกโบว์ลิ่งเกรดไฮสูงสุด (High performance) เลยก็ว่าได้ครับ แต่ผิวยูรีเทนก็ยังมีรูพรุนที่ขนาดเล็กและเนื้อละเอียด เหมือนยางล้อรถที่ไม่ค่อยจะมีดอก ทำให้ลูกยูรีเทนก็ยังสู้น้ำมันได้ไม่ดีเท่าที่ควรครับเมื่อเจอกับปริมาณน้ำมันเลนมากๆ การใช้งานลูกยูรีเทนนิยมขัดผิวหยาบที่เบอร์อยู่ในช่วง 500 - 1500 เพื่อให้ลูกสามารถเกาะพื้นเลนได้ตามสภาพนำ้มัน (เท่าที่มันจะทำได้) ครับ ในยุคต่อๆมาจนถึงปัจจุบัน ลูกยูรีเทนถูกพัฒนาขึ้นมาอีกเรื่อยๆโดยมีการผสมรีแอคทีฟเรซิ่น (Reactive resin) หรือมีการใส่แกนลูกหรือเสริมเทคโนโลยีอื่น เช่น แกนมวลเบาเข้าไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพครับ
- ยุคลูกโบว์ลิ่งผิวรีแอคทีฟ (1990s - ปัจจุบัน): ช่วงต้นยุค 1990 เกิดการพัฒนาผิวลูกโบว์ลิ่งต่อยอดต่อจากผิวยูรีเทนมากขึ้น โดยมีการเติมสารเคมีเข้าไปเพื่อให้ผิวลูกโบว์ลิ่งมีรูพรุนมากขึ้น มีลักษณะเหมือนยางล้อรถที่มีดอกมากขึ้นทำให้ลูกโบว์ลิ่งสามารถเกาะเลนและดูดซับน้ำมันได้ดี ผิวลูกโบว์ลิ่งประเภทนี้เรียกว่าผิวรีแอคทีฟครับ และน้าจบเองก็เริ่มเข้ามาในวงการเป็นช่างเจาะลูกโบว์ลิ่งในยุคนี้ครับ จากประสบการณ์ของน้าจบ ลูกรีแอคทีฟที่โด่งดังในยุคนั้นก็มีบรันสวิค โซน (Brunswick Zone), อีโบไนท์ วูฟ (Ebonite Wolf) ประมาณนี้ครับ แล้วผิวรีแอคทีฟก็ยังมีการพัฒนาสูตรอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้การทำงานของลูกตามที่ต้องการ เช่น ต้องการลูกที่วิ่งไกลและหักเลี้ยว หรือลูกโบว์ลิ่งที่เกาะเลน สู้น้ำมันหนาๆได้ดี ทำให้เกิดเป็นผิวรีแอคทีฟแบบอื่นๆขึ้นมาอีกหลายแบบ เช่น ผิวเพิร์ลรีแอคทีฟ ผิวโซลิดรีแอคทีฟ ผิวปาร์ติเคิล (ซึ่งภายหลังถูกห้ามผลิตเพราะฝุ่นของแก้วที่ผสมในผิวชนิดนี้เป็นอันตรายต่อการหายใจกับช่างเจาะลูกและพนักงานในสายการผลิต) และผิวไฮบริดเรซิ่นครับ และในช่วงกลางยุค 1990s ก็เริ่มมีการนำแกนมาใส่ในลูกโบว์ลิ่งเพื่อให้ลูกโบว์ลิ่งสามารถสร้างรอบในตัวเองได้ด้วย การพัฒนาของแกนและผิวลูกโบว์ลิ่งอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีลูกโบว์ลิ่งสำหรับโยนโค้งดีๆใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ครับ
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีลูกโบว์ลิ่งตั้งแต่อดีตมาจนถึงทุกวันนี้ เท่าที่น้าจบมีข้อมูลและมีประสบการณ์ก็มีประมาณนี้ครับ สำหรับเรื่องเทคโนโลยีของผิวและแกนลูกโบว์ลิ่งทางด้านเทคนิคในเชิงลึกกว่านี้ น้าจบจะเล่าให้ฟังอีกในตอนต่อๆไปนะครับ วันนี้น้าจบโบว์ลิ่งเทคโนโลยีขอลาไปก่อน พบกันตอนหน้านะครับพี่น้อง
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
เหลือพินแบบนี้เรียกว่าสปลิทหรือไม่?
เหลือพินแบบนี้เรียกว่าสปลิทหรือเปล่า?
สวัสดีครับพี่น้องชาวโบว์ลิ่งทุกท่าน หลายท่านอาจจะสงสัยว่าเวลาที่โยนโบว์ลิ่งแล้วลูกโบว์ลิ่งชนพินแล้วเหลือพินเป็นกลุ่มแยกกัน บางครั้งในจอก็ขึ้นคะแนนว่าเป็นสปลิท บางครั้งก็ขึ้นคะแนนว่าไม่เป็นสปลิท แล้วแบบไหนถึงจะเรียกว่าสปลิท? วันนี้น้าจบมีข้อมูลความรู้เล็กๆน้อยๆมาแชร์ให้พี่น้องทุกท่านนะครับ
ตามกติกาโบว์ลิ่งสากล สปลิท (Split) คือการที่โยนลูกโบว์ลิ่งออกไปแล้วลูกโบว์ลิ่งชนพิน 1 แล้วพินล้มไม่หมด โดยเหลือพิน 2 พินขึ้นไปแบบแยกจากกัน จากภาพที่เห็น ภาพซ้ายเหลือพิน 1-2-4-10 ซึ่งแบบนี้ถึงจะเหลือพินเป็นกลุ่มแยกแต่ก็ไม่ถือเป็นสปลิทนะครับเพราะลูกโบว์ลิ่งไม่ถูกพิน 1 โดยในคะแนนในจอจะขึ้นจำนวนพินล้มในบอลแรกเป็น 6 พินเฉยๆ (แต่ก็ถือเป็นการเหลือพินในแบบที่เก็บสแปร์ยากพอตัวเลยครับ) ส่วนภาพขวาซึ่งเหลือพิน 3-10 แม้จะเป็นการเหลือพินแบบแยกกันที่ไม่ห่างกันมาก แต่เนื่องจากพิน 1 ล้มจึงถือว่าการเหลือพินแบบนี้เป็นสปลิทครับและในจอจะแสดงผลพินล้มเป็น S8 ซึ่ง S ก็คือสปลิท (Split) ครับ (หรือบางที่ตัวเลข 8 ก็จะมีวงกลมรอบเลข ถือเป็นสัญลักษณ์ของสปลิทเช่นกันครับ)
โดยสรุปคือการเหลือพินเป็นกลุ่มแยกกันโดยที่พิน 1 ไม่ล้มจะไม่ถือเป็นสปลิทครับ (แต่ก็ถือว่าเป็นชอตชี้ผลแพ้ชนะได้เลยในการแข่งขัน เพราะเก็บสแปร์ยาก) ส่วนการเหลือพินเป็นกลุ่มแยกกันโดยที่พิน 1 ล้มก็จะเรียกว่าสปลิทครับ ซึ่งการเหลือพินเป็นกลุ่มแยกแบบที่ไม่ห่างมากแบบในภาพขวาก็สามารถเรียกว่าเบบี้สปลิท (Baby split) ได้ครับ
ส่วนสาเหตุว่าทำไมถึงโยนโบว์ลิ่งออกสปลิทนั้น ตามความเห็นของน้าจบนะครับ สามารถเกิดจากการโยนที่มุมการเข้าปะทะพินผิดเหลี่ยม คือเข้าพินบางเกินไป หรือหนาเกินไป ส่วนอีกสาเหตุคือลูกโบว์ลิ่งอาจจะยังทำงานไม่สุดในจังหวะที่เข้าปะทะพินทำให้ลูกแฉลบออกแล้วเหลือพินเป็นกลุ่มแยกกันครับ
น้าจบขอฝากไว้เป็นทางเลือกสำหรับพี่น้องนะครับ หากท่านในสนใจเจาะลูกโบว์ลิ่งกับน้าจบ ท่านสามารถติดต่อทัก Inbox มาหาน้าจบได้เพื่อปรึกษาหาแนวทางการเลือกลูกโบว์ลิ่งและแนวทางการเจาะลูกโบว์ลิ่งที่เหมาะกับแนวทางการโยนของท่านมากที่สุดครับ หรือหากท่านมีลูกโบว์ลิ่งอยู่แล้วแล้วสนใจมาเจาะกับน้าจบ น้าจบก็ยินดีรับเจาะลูกของท่านเช่นกันครับ
หากมีเรื่องราวที่น่าสนใจ น้าจบจะนำมาแชร์ มาแบ่งปันให้พี่น้องทุกท่านอีกนะครับ วันนี้น้าจบขอลาไปก่อน พบกันใหม่ในโพสต์หน้านะครับ สวัสดีครับพี่น้อง
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
อีกการเปลี่ยนแปลงกติกาการผลิตลูกโบว์ลิ่งจาก USBC ในปี 2020
อีกการเปลี่ยนแปลงกติกาการผลิตลูกโบว์ลิ่งจาก USBC ในปี 2020 เรื่องการเปลี่ยนแปลงค่าความแข็งของผิวลูกโบว์ลิ่งจากโรงงาน
สวัสดีครับพี่น้องชาวโบว์ลิ่งทุกท่าน วันนี้น้าจบมีข้อมูลมานำเสนอเกี่ยวกับอีกการเปลี่ยนแปลงกฏกติกาของลูกโบว์ลิ่งจาก USBC ครับ
จากงานวิจัยและข้อมูลอัพเดตจาก USBC ในเดือนมิถุนายน 2020 ที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงกติกาเกี่ยวกับลูกโบว์ลิ่ง อีกเรื่องนึง คือเรื่องค่าความแข็งของผิวลูกโบว์ลิ่งครับ โดยตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นไปลูกโบว์ลิ่งรุ่นใหม่จะต้องมีค่าความแข็งอย่างน้อย 73D ในสภาพหลังผลิตออกจากโรงงาน เพื่อลดผลกระทบในการโยนจากการเปลี่ยนแปลงความแข็ง ความนิ่มของผิวลูกโบว์ลิ่งจากปัจจัยอื่นๆเช่น อุณหภูมิและความชื้นครับ (กติกาปัจจุบันให้ค่าความแข็งอย่างน้อย 72D ซึ่งลูกโบว์ลิ่งรุ่นที่มีค่าความแข็ง 72D จะต้องเลิกผลิตภายในกรกฎาคม 2022 ครับ)
หากมีเรื่องราวสาระน่าสนใจเกี่ยวกับโบว์ลิ่ง น้าจบจะนำมาแชร์ มาแบ่งบันให้กับทุกท่านอีกนะครับ วันนี้น้าจบขอลาไปก่อน พบกันในโพสต์หน้านะครับ สวัสดีครับพี่น้อง
หมายเหตุ* ตัว D ด้านหลังตัวเลขค่าความแข็งของผิวลูกโบว์ลิ่งคือหน่วยวัดค่าความแข็งเป็นสเกลของดิวโรมิเตอร์ (Durometer) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับวัดความแข็งของผิวลูกโบว์ลิ่งครับ
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
น้ำยาล้างเล็บใช้เช็ดลูกโบว์ลิ่งได้หรือไม่
น้ำยาล้างเล็บใช้เช็ดลูกโบว์ลิ่งได้หรือไม่
สวัสดีครับพี่น้องชาวโบว์ลิ่งทุกท่าน พอดีมีพี่น้องหลายท่านถามน้าจบมาว่า "น้ำยาล้างเล็บ ใช้เช็ดลูกโบว์ลิ่งได้หรือไม่" วันนี้น้าจบขอแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้พี่น้องทุกท่านได้ทราบนะครับ
ปกติแล้วน้ำยาล้างเล็บเป็นน้ำยาที่มีส่วนประกอบของสารตัวทำละลายเข้มข้น เช่น อะซิโตน (Acetone) หรือสารตัวทำละลายอย่างเข้มข้นอื่นๆ ซึ่งจากข้อมูลการวิจัยของ USBC การใช้สารเคมีเหล่านี้ในน้ำยาล้างเล็บมาเช็ดลูกโบว์ลิ่งทำให้ค่าความแข็งของลูกโบว์ลิ่งเปลี่ยนแปลงได้ มีผลกระทบโดยตรงกับการเลี้ยวของลูกโบว์ลิ่ง ดังนั้นน้ำยาล้างเล็บจึงไม่สามารถใช้เช็ดลูกโบว์ลิ่งได้ครับ
สำหรับคำแนะนำจากน้าจบนะครับ หากท่านใดต้องการใช้น้ำยาเช็ดลูกโบว์ลิ่งที่ประหยัดต้นทุน สามารถใช้แอลกอฮอล์ 70% สำหรับล้างแผลเช็ดลูกโบว์ลิ่งได้ครับ หรือหากท่านใดมีงบประมาณและต้องการใช้น้ำยาสำหรับเช็ดลูกโบว์ลิ่งแบบเฉพาะทางก็สามารถซื้อน้ำยาเช็ดลูกโบว์ลิ่งจากยี่ห้อของผู้ผลิตลูกโบว์ลิ่งได้ครับ
หากมีข้อมูลข่าวสารหรือสาระเกี่ยวกับโบว์ลิ่งที่น่าสนใจ น้าจบจะนำมาแชร์มาแบ่งปันแก่พี่น้องทุกท่านอีกนะครับ สำหรับวันนี้น้าจบขอลาไปก่อน พบกันใหม่ในโพสต์หน้านะครับ สวัสดีครับพี่น้อง
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2565
น้ำยาเช็ดกระจก ใช้เช็ดลูกโบว์ลิ่งได้หรือไม่
น้ำยาเช็ดกระจก ใช้เช็ดลูกโบว์ลิ่งได้หรือไม่
สวัสดีครับพี่น้องชาวโบว์ลิ่งทุกท่าน จากโพสท์ที่แล้วเกี่ยวกับน้ำยาล้างเล็บ มีพี่น้องหลายท่านถามน้าจบเพิ่มเติมว่า "น้ำยาเช็ดกระจก สามารถใช้เช็ดลูกโบว์ลิ่งได้หรือไม่" วันนี้น้าจบจะขอแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้พี่น้องทุกท่านนะครับ
สำหรับการใช้งานทั่วไป น้าจบมีความเห็นว่าสามารถใช้น้ำยาเช็ดกระจกเช็ดลูกโบว์ลิ่งได้เพราะโดยทั่วไปน้ำยาเช็ดกระจกไม่มีสารเคมีที่มีทำให้ค่าความแข็งของผิวลูกโบว์ลิ่งเปลี่ยนแปลง แต่ว่าไม่ควรใช้เช็ดลูกโบว์ลิ่งสำหรับโยนโค้งครับ เนื่องจากน้ำยาเช็ดกระจกมีสารเคมีที่เคลือบผิวสัมผัสเพื่อให้ผิวสัมผัสลื่น หากใช้เช็ดลูกโบว์ลิ่งอาจทำให้ลูกโบว์ลิ่งลื่นไถลและเลี้ยวน้อยกว่าเดิมครับ แต่สำหรับลูกโบว์ลิ่งผิวพลาสติกสำหรับโยนตรงและเก็บสแปร์ก็สามารถใช้น้ำยาเช็ดกระจกเช็ดได้โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใดครับ
แต่สำหรับการแข่งขันระดับทัวร์นาเมนต์ใหญ่ น้าจบแนะนำว่าควรใช้น้ำยาเช็ดลูกที่มีเครื่องหมายการรับรองจาก USBC ซึ่งเป็นน้ำยาที่ได้รับรองมาตรฐานในระดับสากลครับ
หากมีเรื่องราว สาระเกี่ยวกับโบว์ลิ่งที่น่าสนใจ น้าจบจะนำมาแชร์ มาแบ่งปันให้พี่น้องทุกท่านได้รับชมอีกนะครับ วันนี้น้าจบขอลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ในโพสท์หน้านะครับ สวัสดีครับพี่น้อง
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
พี่ๆเพื่อนๆที่ชอบเล่นโบว์ลิ่ง รู้หรือไม่ว่า USBC คืออะไร
USBC คืออะไร
สวัสดีครับพี่น้องชาวโบว์ลิ่งทุกท่าน หลายท่านอาจจะได้ชมโพสท์วีดีโอก่อนหน้านี้แล้วที่เกี่ยวกับเรื่องกฏในการเจาะลูกและผลิตลูกโบว์ลิ่งใหม่จาก USBC ที่เพิ่งจะมีผลบังคับใช้ไป บางท่านอาจจะสงสัยว่า USBC คืออะไร มีหน้าที่อะไร และมีความสำคัญยังไง วันนี้น้าจบจะมาแชร์ขอมูลเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับความเป็นมาของ USBC ให้ทุกท่านได้ชมนะครับ
USBC ย่อมาจาก United States Bowling Congress ครับ โดย USBC เกิดขึ้นในปี 2005 จากควบรวมกันขององค์กรโบว์ลิ่งใหญ่ 4 องค์กรในอเมริกา 4 องค์กรคือ ABC (American Bowling Congress), WIBC (Women's International Bowling Congress), YABA (Young American Bowling Alliance) และ USA Bowling เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวในการบริหารงานเกี่ยวกับกฏระเบียบและการจัดการแข่งขันครับ
มาถึงหน้าที่ของ USBC บ้างนะครับ USBC มีหน้าที่หลักๆเลยคือ
- ดูแลเรื่องกฏระเบียบต่างๆเกี่ยวกับอุปกรณ์เกี่ยวกับโบว์ลิ่งที่ใช้ในการแข่งขัน ตั้งแต่ลูกโบว์ลิ่ง มาตรฐานของเลนโบว์ลิ่ง น้ำมันที่ใช้ในการแข่งขันโบว์ลิ่ง วิธีการลงน้ำมัน พินโบว์ลิ่ง รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้กับลูกโบว์ลิ่งด้วยเช่นน้ำยาทำความสะอาดลูก
- ดูแลเรื่องกฏระเบียบในการแข่งขันโบว์ลิ่ง
- ให้การรับรองรายการแข่งขันลีค และทัวร์นาเมนต์ต่างๆ เช่นการแข่งขัน PBA ที่รับชมกันอยู่ทุกวันนี้ก็ต้องได้รับการรับรองจาก USBC เช่นกัน (แต่ไม่ใช่ทุกรายการที่ USBC รับรองจะจัดโดย PBA)
- รับรองโค้ชสำหรับกีฬาโบว์ลิ่งซึ่งปัจจุบันมี 3 ระดับ คือ USBC Bronze, USBC Silver และ USBC Gold
- บันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับการแข่งขันโบว์ลิ่งต่างๆ และมอบรางวัลแก่นักโบว์ลิ่งผู้มีผลงาน เช่นหอเกียรติยศ หรือหอประวัติการทำคะแนนเพอร์เฟคเกมหรือไฮซีรีย์ (300, 800, 900)
- ดูแลทีมชาติอเมริกาในการแข่งขันระดับนานาชาติต่างๆ
- ดูแลเรื่องเกี่ยวกับเงินทุนในการจัดการแข่งขันต่างๆ
จะเห็นได้ว่าหน้าที่ต่างๆของ USBC มีมากมายเลยนะครับ แต่เรื่องที่มีผลกระทบกับวงการโบว์ลิ่งระดับโลกที่สุดเลยก็คือเรื่องของกฏระเบียบเกี่ยวกับสเปคของลูกโบว์ลิ่งและอุปกรณ์โบว์ลิ่งนะครับ เนื่องจากอเมริกาเป็นผู้ผลิตลูกโบว์ลิ่งและอุปกรณ์โบว์ลิ่งรายใหญ่ที่สุดของโลก ดังนั้นถ้ามีการเปลี่ยนกฏในเรื่องของสเปคใดๆเกี่ยวกับอุปกรณ์โบว์ลิ่งในอเมริกา เท่ากับว่าทั่วโลกเองก็จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ไปโดยอัตโนมัติเช่นกันครับ
และทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวและบทบาทหน้าที่คร่าวๆเกี่ยวกับ USBC นะครับ และหากมีเรื่องราวสาระที่น่าสนใจเกี่ยวโบว์ลิ่งอีก น้าจบจะนำมาแชร์ มาแบ่งปันให้แก่พี่น้องทุกท่านอีกนะครับ วันนี้น้าจบขอลาไปก่อนนะครับ สวัสดีครับพี่น้อง
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
การเปลี่ยนแปลงกฏกติกาในการเจาะรูบนลูกโบว์ลิ่ง อ้างอิงจาก USBC
เรื่องการเปลี่ยนแปลงกฏกติกาในการเจาะรูบนลูกโบว์ลิ่งที่น้าจบพูดไว้อ้างอิงจาก USBC นะครับ ตอนนี้เริ่มเห็นนักกีฬาหลายท่านโพสท์เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว
น้าจบขอสรุปกติกาให้คร่าวๆเกี่ยวกับเรื่องการเจาะรูสำหรับท่านที่ยังไม่ได้ชมวีดีโอนะครับ ตามกฏกติกาใหม่เกี่ยวกับการเจาะรูบนลูกโบว์ลิ่ง ทุกรูที่เจาะบนลูกจะต้องถูกใช้ในการจับถือทุกครั้งที่โยน รูที่เจาะไว้แต่ไม่มีการใส่นิ้วจะถือเป็นรูบาลานซ์ซึ่งตอนนี้ห้ามเจาะแล้วครับ หรือท่านใดที่โยนไม่ใส่นิ้วโป้ง กติกากำหนดให้ทำเครื่องหมาย + ไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายกึ่งกลางฝ่ามือสำหรับด้านที่จะใช้โยนครับ
พอมาถึงตรงนี้แล้วพี่น้องบางท่านอาจจะสงสัยว่า USBC คืออะไรมีหน้าที่อะไร น้าจบจะมาเล่าให้ฟังในโพสท์ถัดไปนะครับ วันนี้น้าจบขอลาไปก่อน พบกันใหม่ในโพสท์หน้าครับ สวัสดีครับพี่น้อง
ปล.1 การกำหนดเครื่องหมายกลางฝ่ามือสำหรับคนที่โยนไม่ใส่นิ้วโป้ง เพื่อป้องกันการได้เปรียบที่คนโยนไม่ใส่นิ้วโป้งที่จะสามารถโยน 2 เลย์เอาท์ได้ในลูกโบว์ลิ่ง 1 ลูกด้วยการกลับด้าน (การจับหรือเจาะรูบนลูกโบว์ลิ่งในตำแหน่งต่างๆให้ผลของการเลี้ยวของที่ไม่เหมือนกัน)
ปล.2 สำหรับรูปลูกโบว์ลิ่งรูปแรกที่มีสองรู (สำหรับใส่นิ้วกลางและนิ้วโป้งอย่างละ 1 นิ้ว) เป็นวิธีการเจาะลูกโบว์ลิ่งแบบที่นิยมในสมัยก่อนสำหรับคนที่โยนโค้งแบบ Full roller ซึ่งปัจจุบันไม่นิยมเจาะแบบนี้แล้วครับ แต่ในกติกาก็สามารถเจาะแบบนี้ได้อยู่ครับ หากท่านใดสนใจที่จะย้อนยุคก็สามารถเจาะลูกแบบนี้ได้เช่นกันครับ
ปล.3 สรุปแบบบ้านๆคือจะเจาะกี่รูก็ได้แต่ต้องใส่นิ้วให้ครบทุกรูทุกครั้งที่โยน โดยสามารถเจาะได้ถึง 5 รูเลยครับ
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ลูกโบว์ลิ่งแตกรอบรูนิ้วโป้งเหมือนในภาพ ท่านสามารถนำมาซ่อมกับน้าจบได้ครับ
ขออนุญาตฝากเป็นทางเลือกสำหรับท่านที่มีลูกโบว์ลิ่งแตกรอบรูนิ้วโป้งเหมือนในภาพ ท่านสามารถนำมาซ่อมกับน้าจบได้ครับ น้าจบสามารถซ่อมให้กลับมาใช้งานได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแท่งตั๊มสีส้มๆที่เห็นในภาพครับ น้าจบจะรื้อรอยแตกออกทั้งหมด แล้วหล่อเรซิ่นแบบแห้งช้า เพื่อให้มีความเหนียวและใช้งานได้นานครับ
ในโพสต์ต่อๆไปน้าจบจะเอาภาพขั้นตอนการทำมาให้ชมนะครับ
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ข้อมูลข้างกล่องลูกโบว์ลิ่ง ที่ท่านควรดูก่อนซื้อลูกโบว์ลิ่ง อย่างน้อย 2 จุด
ข้อมูลข้างกล่องลูกโบว์ลิ่ง ที่ท่านควรดูก่อนซื้อลูกโบว์ลิ่ง อย่างน้อย 2 จุด เพื่อเลือกตัวเลขให้เหมาะกับการเจาะและการโยนของท่าน ลูกโบว์ลิ่งทุกยี่ห้อ ทุกรุ่นที่ใช้สำหรับโยนโค้ง ถ้าท่านดูที่ข้างกล่องจะเจอคำว่า "pin" พร้อมตัวเลข และคำว่า "Top weight" พร้อมตัวเลข เหมือนตัวอย่างในภาพ ซึ่งคำว่า"Pin"ก็หมายถึงระยะจุด ตำแหน่งของ Pin ที่อยู่ห่างจาก CG เป็นระยะเท่าไหร่ และ "Top weight" ก็คือน้ำหนักด้านบนของลูกเมื่อชั่งเทียบกับด้านล่างแล้วมีน้ำหนักต่างกันเท่าไหร่ ซึ่งตัวเลขทั้งสองจุดนี้อาจจะมีตัวเลขต่างกันในแต่ละลูกถึงแม้จะเป็นยี่ห้อ,รุ่น,และน้ำหนักลูกเดียวกัน ก็จะมีระยะ"Pin"และน้ำหนัก"Top weight"ที่ต่างกันไป ดังนั้นก่อนซื้อท่านจึงควรเลือกให้เหมาะสมกับท่าน เพราะตัวเลขทั้ง 2 จุดนี้จะมีผลในการออกแบบตอนเจาะลูกและการโยนของท่าน ส่วนในเรื่องของรายละเอียด ว่าจะมีผลเสียอย่างไรถ้าเลือก ตัวเลข 2 ค่านี้มาไม่เหมาะสม และมีหลักการในการเลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับท่าน น้าจบจะมาเล่าในโพสต์ต่อๆไปครับ
#ขายลูกโบว์ลิ่ง #รับเจาะลูกโบว์ลิ่ง #รับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
#ร้านน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
#รับนัดวันละ1ท่านเพื่องานคุณภาพ
#น้าจบช้าแต่ชัวร์
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
รูปตัวอย่างการซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
"รูปตัวอย่างการซ่อมลูกโบว์ลิ่ง"
หลายท่านสอบถามน้าจบมาว่า ลูกโบว์ลิ่งแตกซ่อมได้หรือเปล่า,ลูกโบว์ลิ่งมีรอยร้าวซ่อมได้มั้ย,ลูกโบว์ลิ่งมีรอยขีดข่วนซ่อมอย่างไร วันนี้น้าจบมีรูปตอนที่น้าจบซ่อมลูกโบว์ลิ่งที่มีรอยแตกร้าวรอบบริเวณที่ใส่นิ้วกลางและนิ้วนางมาฝากครับ ถ่ายไปซ่อมไปรูปไม่ค่อยชัดต้องขออภัยด้วยนะครับ
เล่นโบว์ลิ่งแล้วมือเจ็บนิ้วเป็นแผล
ท่านที่เล่นโบว์ลิ่งแล้วเกิดปัญหานิ้วโป้ง เป็นเหมือนในภาพตัวอย่างนี้ หรือจับลูกโบว์ลิ่งไม่ถนัด บังคับทิศทางในการโยนไม่ได้ น้าจบพอมีวิธีแก้ไขครับ มากกว่า 20 ปีที่น้าจบได้คิดค้นและหาวิธี แก้ไขปัญหาเหล่านี้ ปัญหาที่พบส่วนใหญ่เกิดจากลูกโบว์ลิ่ง ที่ใช้ไม่พอดีกับมือของผู้เล่นครับ แก้ไขที่ลูกโบว์ลิ่งซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหามือเจ็บหรือนิ้วเป็นแผลต่างๆครับ หากท่านมีปัญหาเหล่านี้น้าจบยินดีให้คำแนะนำและแก้ไขลูกโบว์ลิ่งของท่านครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)