วิธีการดูปีที่ผลิตของลูกโบว์ลิ่งเครือ Ebonite International (ประกอบด้วยลูกโบว์ลิ่งยี่ห้อ Ebonite, Columbia 300, Hammer, Track) มาให้ทุกท่านได้รับชมนะครับ
แต่วิธีการดูนี้น้าจบคาดว่าจะสามารถใช้ได้กับลูกโบวลิ่ง 4 ยี่ห้อนี้ในรุ่นที่ออกวางจำหน่ายจนถึงสิ้นปี 2019 เนื่องจากปลายปี 2019 Ebonite และ Brunswick มีการรวมกิจการและในปี 2020 ลูกโบว์ลิ่งเครือ Ebonite ถูกย้ายฐานการผลิตไปผลิตที่โรงงานเดียวกับ Brunswick แล้ว จากข้อมูลที่น้าจบมี การให้หมายเลข Serial ของลูกโบว์ลิ่งเครือ Ebonite รุ่นใหม่ๆ จะใช้ระบบตัวหนังสือแทนเดือนและปีแล้ว ซึ่งสำหรับวิธีการแปลความหมายตรงนี้ น้าจบขอไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนนะครับ และหากมีข้อมูลที่น่าสนใจ น้าจบจะมาแบ่งปันให้พี่น้องอีกนะครับ
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ร้านน้าจบโบว์ลิ่ง ขายลูกโบว์ลิ่ง รับเจาะลูกโบว์ลิ่ง รับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง ขายลูกBOWLINGมือ1 มือ2
ติดต่อน้าจบได้ที่เพจ ร้านน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565
วิธีดูปีผลิตลูกโบว์ลิ่งยี่ห้อ storm
วิธีดูปีผลิตลูกโบว์ลิ่งครับ
โพสต์นี้เป็นวิธีดูปีผลิตของลูกโบว์ลิ่งยี่ห้อ storm และ Roto grip นะครับ
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
วิธีดูเดือนและปีผลิตลูกโบว์ลิ่ง
วิธีดูเดือนและปีผลิตลูกโบว์ลิ่งครับ โพสต์นี้เป็นวิธีดู เดือนปีผลิตของลูกโบว์ลิ่งยี่ห้อ MOTIV ครับ
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
โบว์ลิ่งน่ารู้ ตอน รู้หรือไม่ว่าลูกโบว์ลิ่งสามารถเจาะได้กี่รู? By น้าจบ
สวัสดีครับพี่น้องชาวโบว์ลิ่งทุกท่าน วันนี้น่าจบโบว์ลิ่งเทคโนโลยีก็มาพร้อมกับสาระน่ารู้เกี่ยวกับโบว์ลิ่งอีกเช่นเคยครับ หลายท่านเคยสงสัยและสอบถามน้าจบมาว่า “ลูกโบว์ลิ่งสามารถเจาะได้กี่รูครับ?”วันนี้น้าจบจะมาแชร์ข้อมูลเพื่อไขข้อสงสัยนี้ให้พี่น้องทุกท่านนะครับ เชิญรับชมเลยครับ
โดยทั่วไป ท่านอาจจะเคยพบเห็นลูกโบว์ลิ่งที่มีสามรู (พบบ่อยที่สุด) หรือบางท่านก็อาจจะพบลูกโบว์ลิ่งที่มีเพียงสองรู ไม่มีรูนิ้วโป้ง หรือบางท่านก็อาจจะเคยเห็นลูกโบว์ลิ่งที่มีถึง 4 รูด้วยกัน แต่ตามกติกาในปัจจุบันแล้ว ลูกโบว์ลิ่งสามารถเจาะได้ถึง 12 รูด้วยกัน (จะสามารถเจาะได้มากที่สุดเพียง 11 รูหลังจากที่กติกาใหม่บังคับใช้ในวันที่ 1 ส.ค. 2020) ส่วนแต่ละรู คือรูอะไร ใช้ทำอะไรบ้าง น้าจบขออธิบายว่ารูบนลูกโบว์ลิ่งแบ่งเป็นกลุ่มตามกติกาการเจาะลูกโบว์ลิ่งได้ตามนี้ครับ
1. รูสำหรับจับถือ (Grip hole) สามารถมีได้ 5 รู สำหรับการใส่นิ้วได้ 5 นิ้วตามรูปประกอบเลยครับ สามารถเจาะได้ตั้งแต่ 1-5 รูตามความถนัดและความสะดวกในการจับถือของแต่ละท่านเลยครับ แต่หากรูสำหรับจับถือรูไหนที่เจาะแล้ว ไม่ได้ใส่นิ้วลงไปจริงในตอนใช้โยน ก็จะถือว่าเป็นรูสำหรับปรับสมดุลน้ำหนักลูกโบว์ลิ่ง หรือ Balance hole ครับ
2. รูระบายอากาศ (Vent Hole) 5 รู โดยเจาะรูระบายอากาศได้ 1รูต่อรูสำหรับจับถือ 1 รู หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่ารูระบายอากาศมีประโยชน์ยังไง หรืออาจจะยังไม่เคยรูระบายอากาศ น้าจบขออธิบายว่าปัจจุบันการโยนโบว์ลิ่งแบบโค้งมักใส่อุปกรณ์เสริมคือแท่งตั๊ม (Thumb slug) สำหรับนิ้วโป้งซึ่งมีบากตรงขอบผิวด้านนอกเพื่อระบายอากาศอยู่แล้ว หรือมีการใส่กริ๊ปอินเสิร์ท (Grip Insert) สำหรับนิ้วกลางนิ้วนาง ซึ่งปกติจะมีความหลวมหรือมีช่องว่างประมาณนึงให้อากาศสามารถไหลออกได้อยู่แล้ว รูระบายอากาศจึงไม่มีความจำเป็นในยุคนี้ แต่สมัยก่อนที่ยังไม่มีกริ๊ปและตั๊ม การเจาะลูกสำหรับโยนโค้งจะต้องเจาะรูแล้วแต่งขนาดให้พอดีกับนิ้วของผู้เล่น ซึ่งความพอดีนั้นทำให้อากาศไม่สามารถไหลได้ เกิดเป็นภาวะสูญญากาศ ทำให้ลูกดูดนิ้วติดกับรู ไม่สามารถปล่อยออกได้ครับ การปล่อยลูกโบว์ลิ่งออกไปในสภาพที่ลูกโบว์ลิ่งที่มีน้ำหนักเยอะติดมือออกไปด้วยอาจะทำให้บาดเจ็บที่นิ้วจากการโดนลูกโบว์ลิ่งกระตุกตอนปล่อยลูก หรืออีกกรณีหนึ่งหากท่านปล่อยลูกด้วยความรุนแรงแล้วไม่สามารถเคลียร์นิ้วให้หลุดได้ ท่านอาจจะบินออกไปพร้อมลูกโบว์ลิ่งเหมือนกับซุปเปอร์แมนเลยครับ แน่นอนครับว่าท่านจะต้องอับอายขายขี้หน้าไปอีกนานและอาจจะบาดเจ็บได้ด้วยเช่นกันครับ ดังนั้นสมัยก่อนจึงมีการกำหนดให้เจาะรูสำหรับระบายอากาศได้โดยขนาดของรูต้องไม่เกิน ¼ นิ้วและจะต้องเจาะบนผิวลูกให้ทะลุออกไปที่ผนังของรูสำหรับจับถือครับ ในการแข่งขันโบว์ลิ่งอาชีพ PBA เคยมีเหตุการณ์โด่งดังในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องนี้ คือไมค์ มาชูก้าปล่อยลูกไม่หลุดแล้วบินไปกับลูกแล้วร่อนลงบนเลนเลยครับ สามารถหาคลิปดูได้ในยูทูป แล้วพิมพ์ว่า Machuga flop ครับ
3. รูสำหรับปรับสมดุลน้ำหนักหรือรูบาลานซ์ (Balance hole) 1 รู เป็นรูที่เจาะเอาไว้สำหรับปรับน้ำหนักต่างไม่ให้เกินเกณฑ์ที่กติกากำหนดครับ ในกติกากำหนดให้เจาะรูบาลานซ์ได้เพียง1 รูเท่านั้นโดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของรูไม่เกิน 1 ¼ นิ้ว รูบาลานซ์นี้ยังหมายรวมถึงรูสำหรับจับถือที่ไม่ได้มีการใส่นิ้วในขณะโยนด้วยครับ
หมายเหตุ: ในวันที่ 1 สิงหาคม 2020 จะมีการประกาศกติกาในการเจาะใหม่ซึ่งจะยกเลิกการเจาะรูบาลานซ์ในทุกกรณี หมายความว่านอกจากจะไม่สามารถเจาะรูบาลานซ์ได้แล้ว ก็ยังไม่สามารถเจาะรูสำหรับจับถือที่ไม่ได้มีการใส่นิ้วสำหรับโยนด้วยเช่นกันครับ เช่นคนที่โยนสองมือหรือมือเดียวแบบไม่ใส่นิ้วโป้ง ก็จะไม่สามารถเจาะรูนิ้วโป้งได้อีกต่อไป เพราะถือว่ารูนิ้วโป้งนั้นคือรูบาลานซ์ครับ
4. รูเจาะเพื่อการตรวจสอบ (Mill hole) 1 รู สมัยก่อนจะมีการเจาะรูเพื่อคว้านเอาเนื้อของลูกโบว์ลิ่งไปตรวจสอบค่าต่างๆของผิวลูกโบว์ลิ่ง เช่นค่าความแข็งของผิวลูกโบว์ลิ่ง โดยกรรมการการแข่งขันจะคว้านเนื้อลูกโบว์ลิ่งออกไปเป็นรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 5/8 นิ้ว และมีความลึกไม่เกิน 1/8 นิ้วครับ แต่ปัจจุบันไม่พบเห็นการเจาะรูประเภทนี้แล้วเนื่องจากการตรวจวัดค่าความแข็ง มีเครื่องมีในการตรวจวัดที่ทันสมัยขึ้นแล้ว สามารถใช้ตรวจวัดค่าความแข็งของผิวลูกโบว์ลิ่งได้โดยไม่ต้องคว้านเนื้อออก เรียกว่าดิวโรมีเตอร์ (Durometer) ครับ
ทีนี้ท่านที่มีความสนใจที่จะเจาะรูมากกว่าปกติที่พบเห็นกันบ่อย ก็สามารถเจาะได้แล้วครับหากยังอยู่ในกติกา เช่นการเจาะฟิงเกอร์สามนิ้วไว้สำหรับใส่นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยครับ หรือหากยังถือไม่ถนัดพอ ท่านสามารถเจาะรูไว้สำหรับใส่นิ้วชี้เพิ่มอีกหนึ่งรูได้ด้วยครับ 5555 หากท่านสนใจงานเจาะที่เฉพาะทาง
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
โบว์ลิ่งน่ารู้ By น้าจบ ตอน คุณโยนโบว์ลิ่งสไตล์ไหน ลองมาดูกันครับ
สวัสดีครับพี่น้องชาวโบว์ลิ่งทุกท่าน วันนี้น้าจบโบว์ลิ่งเทคโนโลยีก็มีสาระมาแบ่งปันให้พี่ๆน้องๆทุกท่านอีกครั้งนะครับ วันนี้น้าจบจะมาแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องลักษณะในการโยนโบว์ลิ่งแนวต่างๆที่มีให้กับทุกท่านครับ เรื่องนี้เองก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องที่เราจะใช้ในการว่างแผนการโยน รวมถึงทั้งการเลือกลูกโบว์ลิ่งและเจาะลูกโบว์ลิ่งเลยครับ มาลองดูกันนะครับพี่น้อง
ถ้าว่ากันจริงๆแล้วแนวการโยนโบว์ลิ่งมีอยู่ประมาณ 13 แบบครับ แต่ในวันนี้น้าจบจะขอยกมาเป็นกลุ่มใหญ่ๆที่ใช้พูดคุยกันทั่วๆไปมาเล่าให้ฟังนะครับ แนวการโยนโบว์ลิ่งหลักๆแบ่งเป็นประมาณนี้นะครับ
1. โยนตรง - Straight Ball (ไม่มีรูปประกอบ) เป็นแนวการโยนโบว์ลิ่งที่พื้นฐานที่สุดในทุกแนวครับ เนื่องจากไม่มีเทคนิคที่ซับซ้อนที่ต้องใช้ในการโยนแนวนี้ การโยนตรงเน้นเรื่องความแม่นยำเป็นหลักครับ การโยนตรงไม่มีรูปแบบหรือฟอร์มที่ตายตัว จุดหลักคือการโยนกลิ้งให้ลูกโบว์ลิ่งกลิ้งตรงออกไปจนกระทั่งชนพินครับ ข้อดีของการโยนตรงคือการฝึกฝนไม่ยากครับ ขอเพียงท่านสามารถคุมการโยนให้ลูกโบว์ลิ่งวิ่งไปตามไลน์ที่ท่านต้องการโยนเท่านั้น และท่านที่มีความแม่นยำในการโยนลูกตรงจะสามารถรักษาคะแนนเฉลี่ยได้ดีจากการเก็บสแปร์ได้อย่างต่อเนื่อง แต่การโยนตรงก็มีข้อเสียในเรื่องการการมีโอกาสผิดพลาดได้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากเหลี่ยมการเข้าพินที่หวังผลสไตรค์ได้มีน้อยกว่าการโยนเคิฟครับ การโยนตรงแม่นแม้ทำให้รักษาคะแนนเฉลี่ยเกาะกลุ่มได้ค่อนข้างดี แต่ก็โยนทำคะแนนสูงหรือไฮเกมได้ค่อนข้างยากเช่นกันครับ ในอดีตการโยนตรงยังถูกใช้ในการแข่งขันโดยนักกีฬาด้วย โดยนักกีฬาผู้มีความสามารถในการโยนตรงในระดับตำนานได้แก่ดอน คาร์เตอร์ (Don Carter) หนึ่งในตำนานตลอดการของประวัติศาสตร์ PBA ครับ
2. โยนโค้ง - Curve Ball เป็นแนวการโยนที่นิยมแพร่หลายที่สุดในหมู่นักกีฬาและผู้เล่นที่เริ่มจริงจังในการโยนโยว์ลิ่ง เนื่องจากการโยนโค้งทำให้มีมุมการเข้าปะทะพินที่กว้างกว่าการโยนตรง ทำให้โอกาสหวังผลในการทำสไตรค์มากกว่าการโยนตรงครับ และการโยนให้ลูกโบว์ลิ่งเลี้ยวโค้งเข้าหาพิน บางครั้งก็สามารถมองเป็นความสวยงามอย่างหนึ่งของการโยนโบว์ลิ่งได้เช่นกันครับ แต่การโยนโค้งก็ต้องการการฝึกฝนที่มากกว่าการโยนตรงด้วยเช่นกัน โดยแนวการโยนโค้งมีค่อนข้างหลากหลายมากๆ สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ตามนี้ครับ
- ฟูลโรลเลอร์ (Full Roller) เป็นวิธีการโยนโค้งที่มีมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของโบว์ลิ่งเลยครับ โดยหลักแล้วการโยนฟูลโรลเลอร์จะทำให้เส้นน้ำมันวิ่งพาดผ่านตรงกลางระหว่างรูนิ้วโป้งกับฟิงเกอร์ (รูนิ้วกลางและนิ้วนาง) ครับ ถ้าเป็นการโยนฟูลโรลเลอร์ในกรณีทั่วๆไป ผู้โยนมักมีการคว่ำมือในระหว่างสวิงไปด้านหลังตามรูป และในจังหวะสวิงลงลูกโบว์ลิ่งจะถูกปล่อยข้างลำตัวในลักษณะมือก้ามปู โดยนิ้วกลางและนิ้วนางจะนำนิ้วโป้งครับ สาเหตุของการโยนแบบนี้ คาดว่าในยุคแรกๆตั้งแต่ 1800s ปลายๆจนถึง 1920 ลูกโบว์ลิ่งนิยมเจาะรูเพียงสองรู คือรูนิ้วโป้ง และรูนิ้วกลาง การใส่นิ้วแค่นิ้วโป้งและนิ้วกลางทำให้แนวการรับน้ำหนักเป็นเพียงเส้นตรงระหว่างสองนิ้วเท่านั้นทำให้เวลาสวิงลง ลูกโบว์ลิ่งจะถ่วงให้มือพลิกคว่ำได้ และพอสุดวงสวิงด้านหลัง ลูกจะถ่วงมือให้เหวี่ยงกลับไปด้านหน้า และในจังหวะนั้นน้ำหนักของลูกจะถ่วงมือในตำแหน่งคว่ำให้กลับมาเป็นการปล่อยบอลในลักษณะมือก้ามปูครับ ข้อดีของการโยนฟูลโรลเลอร์คือลูกโบว์ลิ่งวิ่งได้แบบเต็มวงหรือเส้นน้ำมันผ่าครึ่งลูกพอดี ทำให้ได้การวิ่งที่วงใหญ่เหมือนกับใช้รถยางขนาดใหญ่ แม้จะไม่ได้โยนรอบเยอะมาก ลูกยังสามารถเลี้ยวได้อยู่ แต่ข้อเสียก็คือด้วยรอบที่ไม่เยอะมากทำให้ไลน์ในการโยนค่อนข้างจำกัดครับ ในรูปที่นำมาแสดงประกอบคือแอนดี้ วาริปาป้า (Andy Varipapa) นักกีฬาโบว์ลิ่งชื่อดังตั้งแต่ยุค 1930 ครับ
- สโตรคเกอร์ (Stroker) เป็นแนวการโยนโค้งอีกแนวที่ค่อนข้างคลาสสิคโดยเริ่มพบการโยนแบบนี้ตั้งแต่ช่วง 1950 ผู้ที่โยนแนวนี้มีลักษณะการโยนที่เน้นการปล่อยลูกโบว์ลิ่งจากด้านข้างบอลตามรูป โดยใช้การให้ข้อมือเอียงทำมุมและยกมือขึ้นในมุมนั้นเพื่อเกี่ยวลูกในจังหวะปล่อยบอล วิธีการปล่อยแบบมือเอียงและยกขึ้นมีลักษณะคล้ายกับการเชคแฮนด์ หรือการยกแก้วน้ำกระดก ทำให้การโยนสโตรคเกอร์ถูกเรียกว่าการโยนแบบเชคแฮนด์ด้วย คำว่าสโตรคเกอร์ยังหมายรวมคงผู้โยนโค้งในแบบทั่วๆไปที่มีรอบการหมุนของบอลไม่เกินสามร้อยต้นๆรอบต่อนาทีด้วยครับ การโยนสโตรคเกอร์เป็นแนวที่พบในส่วนที่โยนโค้งส่วนใหญ่ เพราะถือเป็นจุดเริ่มต้นของการโยนโค้งเลยก็ว่าได้ ปกติการโยนสโตรคเกอร์อาจจะไม่ได้ทำให้บอลแรงและรอบจัดมากมาย แต่การโยนสโตรคเกอร์มีข้อดีในเรื่องความแม่นยำในการโยน และคุมทิศทางของลูกโบว์ลิ่งได้ไม่ยากมากครับ แล้วมุมการเข้าปะทะของสโตรคเกอร์ยังไม่กว้างจนเกิดไป ทำให้โอกาสออกสปลิทไม่เยอะมากด้วยครับ นักกีฬาที่โยนสโตรคเกอร์ที่มีชื่อเสียงเช่น วอลเทอร์ เรย์ วิลเลี่ยมส์ จูเนียร์ (Walter Ray Williams Jr.), ปาร์คเกอร์ บอห์น (Parker Bohn III) และนอร์ม ดุค (Norm Duke) ครับ นักกีฬาบางท่านอาจจะโยนสโตรคเกอร์ที่มีวงสวิงที่สูงกว่าและเกี่ยวบอลมากกว่าสโตรค์เกอร์ทั่วไป เช่น พีท เวเบอร์ (Pete Weber) แนวแบบนั้นเรียกว่าพาวเวอร์ สโตรคเกอร์ ที่ต่อยอดมาจากสโตรคเกอร์อีกทีครับ
- ทวีนเนอร์ (Tweener) เป็นคำที่ผันมาจากคำว่าอิน บีทวีน (In-between) ครับ การโยนแบบทวีนเนอร์เป็นแนวที่มีสปีด รอบการหมุน และความรุนแรงอยู่ตรงกลางระหว่างสโตรค์เกอร์ กับแครงค์เกอร์ โดยผู้โยนแนวนี้จะมีรอบเฉลี่ยประมาณ 350 ถึง 400 รอบต่อนาทีครับ แนวการโยนแบบนี้อาจเรียกได้อีกอย่างว่าเป็นการโยนพาวเวอร์ในยุคก่อน โดยแนวนี้ต่างกับการโยนสโตรคเกอร์ตรง ผู้เล่นมีจังหวะการโยนที่ค่อนข้างมีพลังมากกว่าการโยนสโตรคเกอร์ บางท่านอาจมีวงสวิงที่สูงขึ้น หรือบ้างท่านมีการเกี่ยวลูกโบว์ลิ่งจากหลังบอล หรือใต้บอลมากกว่าการโยนสโตรคเกอร์และมีการเทิร์นข้อมือช่วยด้วยหรือบางท่านอาจมีการสะบัดข้อมือเล็กน้อย ทำให้เกิดรอบการหมุนและสปีดที่มากกว่าการโยนแบบสโตรคเกอร์ครับ นักกีฬาที่โยนสไตล์นี้ได้แก่ มีก้า คอยวูนีเอ็มมี่ (Mika Koivuniemi) และบ๊อบ เลิร์น (Bob Learn) ครับ
- แครงค์เกอร์ (Cranker) หรือบางท่านก็เรียกว่าพาวเวอร์ บอล (Power Ball) ซึ่งสองแนวนี้ค่อนข้างมีความใกล้เคียงกัน โดยทั่วไปก็เลยเรียกคนที่โยนกลุ่มนี้ว่าแครงค์เกอร์ครับ การโยนแนวนี้ถือเป็นการโยนมือเดียวที่ดุดันที่สุด สปีดบอลสูงที่สุด และมีรอบการหมุนที่จัดจ้านในย่านนี้ที่สุด นิยมใช้กันในวงนักกีฬาครับ โดยทั่วไปผู้ที่โยนแนวนี้จะมีวงสวิงที่สูง บางท่านอาจจะสูงถึงตั้งฉากกับพื้น และในจังหวะปล่อยมักจะใช้การงอข้อศอกและสะบัดข้อมือออกเพื่อช่วยสร้างรอบการหมุน ทั่วไปแล้วผู้ที่โยนแนวนี้จะมีรอบเฉลี่ยตั้งแต่ 400 รอบต่อนาทีขึ้นไปครับ บางท่านอย่างโรเบิร์ต สมิธ สามารถโยนขึ้นไปได้ถึง 650 รอบต่อนาทีได้เลยครับซึ่งถือว่าจัดจ้านสุดๆแล้ว ข้อดีของการโยนแครงค์เกอร์คือสปีดดี รอบจัด เข้าปะทะพินแรงสะใจวัยรุ่น การเข้าปะทะแรงทำให้เกิดพินแอคชั่น (Pin action) ที่ดี สามารถเพิ่มโอกาสสไตรค์ได้จากพินที่บินว่อนอยู่ตรงนั้นเพราะความรุนแรงของบอล แต่การโยนแครงค์เกอร์ก็มีข้อเสียตรงการควบคุมทิศทางและความสม่ำเสมอทำได้ยากเนื่องจากการวิ่งของลูกมีความรุนแรงมาก ต้องใช้การฝึกฝนอย่างหนักเป็นประจำ ใช้พลังงานในการโยนเยอะทำให้เหนือยเร็วกว่าแบบอื่นๆ เสี่ยงโยนออกสปลิท และอาจเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหากโยนผิดพลาดด้วยครับ ในยุคนี้นักกีฬาที่โยนแครงค์เกอร์มีมากมาย แต่น้าจบก็จะขอยกตัวอย่างอัมเลโต้ โมนาเชลลี่ (Amleto Monacelli) ที่เป็นคนแรกๆที่โยนแครงค์เกอร์ตั้งแต่ยุค 1980 ครับ
- โยนสองมือ (Two-handed delivery) เป็นการโยนที่เพิ่งแพร่หลายมาได้ประมาณ 10 กว่าปีมานี้ โดยคาดว่าที่มา มาจากการโยนตั้งแต่สมัยเด็ก และยึดถือการโยนแนวนี้มาจนโต ผู้ที่โยนสองมือนั้นสามารถสร้างรอบบอลมหาศาลได้อย่างไม่น่าเชื่อเพราะคนที่โยนสองมือส่วนใหญ่แล้วโยนไม่ใส่นิ้วโป้ง (มีคนที่โยนสองมือแต่ใส่นิ้วโป้งด้วย แต่ไม่เยอะ เช่น ชอน มัลโดนาโด้ - Shawn Maldonado) สามารถทำให้ปั่นรอบได้ง่าย วนสปีดการวิ่งมักสร้างมาจากจังหวะกระโดดในก้าวท้ายๆก่อนโยนครับ ผู้ที่ทำให้การโยนสองมือเป็นที่แพร่หลายคือเจสัน เบลมอนตี้ (Jason belmonte) ที่สามารถคว้าแชมป์ PBA ได้ถึง 23 สมัยแล้วตั้งแต่ปี 2008 จนปัจจุบัน เขาเป็นแรงบันดาลให้ๆหลายๆคนในโลกนี้มาฝึกโยนสองมือครับ ข้อดีของการโยนสองมือคือการโยนที่มีรอบบอลมหาศาลโดยมีมุมการออกบอลแบบไฮแทรค ทำให้ลูกเกาะและตะกุยเลนได้ดีและมีการเลี้ยวที่มีพลังรุนแรงมาก ส่วนข้อเสียของการโยนสองมือก็คือรอบบอลมักจะนำสปีดมาก ทำให้ลูกเลี้ยวเกิน หรือควบคุมได้ยากเมื่อเจอกับสถานการณ์น้ำมันแห้ง จำเป็นต้องฝึกจังหวะเดินเพื่อเพิ่มสปีดบอลครับ
- แบคอัพ (ไม่มีรูปประกอบ) (Back-up) เป็นการโยนโค้งให้ลูกเลี้ยวไปคนละทางกับการโยนโค้งปกติ เช่นการโยนมือขวาแล้วให้ลูกเลี้ยวออกไปทางขวา (ซึ่งการโยนโค้กปกติ ถ้าโยนมือขวา ลูกจะเลี้ยวซ้าย) ผู้ที่โยนแนวนี้ในระดับนักกีฬายังสามารถหาได้เป็นบางท่านที่ประเทศญี่ปุ่นครับ
- โยนมือเดียวไม่ใส่นิ้วโป้ง หรือใส่ครึ่งนิ้วโป้ง (ไม่มีรูปประกอบ) (Single hand/no thumb, Single hand/half thumb) เป็นแนวการโยนมือเดียวที่ผู้เล่นไม่ได้ใส่นิ้วโป้งไปในลูก หรืออาจใส่นิ้วโป้งให้จมลงไปในรูนิ้วโป้งแค่ข้อเดียว โดยเน้นการใช้ฝ่ามืออุ้มบอลแล้วล๊อคไว้กับข้อมือและท่อนแขน แล้วจึงปล่อยออกไป ข้อดีของการโยนแนวนี้คือสามารถโยนให้มีรอบเยอะและออกบอลเป็นไฮแทรคได้คล้ายการโยนสองมือ แต่การโยนแนวนี้ก็มีข้อเสียหลักๆเลยคือ ควบคุมการโยนลำบากเพราะลูกมีโอกาสจะดิ้นออกจากท่อนแขนได้ในขณะสวิง และผู้เล่นอาจเล่นบอลที่มีน้ำหนักเยอะมากไม่ค่อยได้ เพราะข้อมือต้องคอยเกร็งไว้เพื่ออุ้มน้ำหนักบอล นักกีฬาที่โยนแนวนี้เช่นทอม โดฮ์ตี้ (Tom Daugherty - ไม่ใส่โป้ง) และทอม สมอลวู้ด (Tom smallwood - ครึ่งโป้ง) ครับ โดยทอม โดฮ์ตี้สามารถโยนมือเดียวไม่ใส่โป้งโดยใช้ลูกที่น้ำหนักเยอะได้ เพราะขนาดตัวและมือที่ใหญ่มากจนสามารถอุ้มบอลไว้ได้ง่ายๆครับ เรื่องนี้เป็นเทคนิคเฉพาะตัว น้าจบไม่แนะนำให้เลียนแบบนะครับ เพราะถ้าฝึกไม่ดี อาจเกิดอุบัติเหตุกับตัวเองได้ครับ
3. ลูกข่าง/ยูเอฟโอ/เฮลิคอปเตอร์ (Spinner/ UFO/ Helicoptor) เป็นการโยนโบว์ลิ่งในอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความแตกต่างจากการโยนโค้งอย่างสิ้นเชิงครับ การโยนลูกข่าง ผู้เล่นจะหมุนปั่นลูกโบว์ลิ่งให้หมุนมีรอบจากด้านบนของลูก (ลูกโค้งจะปั่นรอบจากข้างลูก หลังลูก หรือใต้ลูก) แล้วจึงปล่อยให้ลูกโบว์ลิ่งไหลออกไป ลูกโบว์ลิ่งจะมีลักษณะไถลไปพร้อมกับหมุนในแนวนอนเหมือนลูกข่าง จึงเป็นที่มาขอชื่อเรียกว่าการโยนลูกข่างครับ วัตถุประสงค์นึงของการโยนลูกข่างคือเป็นการโยนตรงที่เพิ่มประสิทธิภาพขึ้นอีกระดับนึงจากรอบการหมุนในแนวนอน ทำให้พินเกิดการดีดกันเองมากขึ้น สำหรับบางท่าน การโยนลูกข่างทำให้ลูกเลี้ยวในลักษณะแบคอัพด้วยครับ ปัจจุบันการโยนลูกข่าง แพร่หลายในแถบประเทศไต้หวัน จีน และมาเก๊าครับ
แนวทางโยนโบว์ลิ่งในปัจจุบันที่ใช้กันก็มีประมาณนี้นะครับ การโยนแต่ละแนวที่มีลักษณะที่แต่งต่างกันล้วนแต่มีความความสำคัญในการเลือกลูกโบว์ลิ่ง และวิธีการเจาะลูกโบว์ลิ่งทั้งนั้น หากเรารู้แนวการโยนของตัวเองแล้ว การวางแผนที่จะเลือกอุปกรณ์ได้อย่างแม่นยำก็จะทำได้ง่ายขึ้น และในส่วนของน้าจบ จากประสบการณ์การเจาะลูกโบว์ลิ่งมาเกือบ 25 ปี น้าจบได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับการโยนในทุกรูปแบบ เพื่อให้สามารถเจาะลูกได้อย่างเหมาะสมตามความต้องการของแต่ละท่านตามสไตล์การโยนส่วนบุคคล หากท่านใดสนใจงานเจาะในแบบเฉพาะทางของน้าจบ
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ภาษาโบว์ลิ่งวันละคำ วันนี้น้าจบขอเสนอคำว่า "ล้างท่อ"
ภาษาโบว์ลิ่งวันละคำ วันนี้น้าจบขอเสนอคำว่า "ล้างท่อ"
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
ติดต่อน้าจบได้ที่ เพจ ร้าน้าจบรับซ่อมลูกโบว์ลิ่ง
https://www.facebook.com/najobbowling
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)